2552-09-19

Multinational Company

บริษัทข้ามชาติ (Multinational Company) คือ บริษัทที่ขยายธุรกิจด้วยการสร้างบริษัทลูกในต่างประเทศ โดยบริษัทลูกจะมีความรับผิดชอบในเรื่องการปรับตัว การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม การแข่งขัน และความต้องการของลูกค้าในประเทศนั้น ด้วยตัวเอง หรือ คือธุรกิจที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน สามารถควบคุมการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ที่ดิน สำหรับการผลิตวัตถุดิบ สำนักงาน ที่ทำหน้าที่ขาย โดยมีทรัพย์สินกระจายอยู่ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป

ประกอบด้วย 4 รูปแบบคือ
1.
แบ่งตามหน้าที่ คือ แบ่งเป็นแผนกในการบริหาร
2.
แบ่งตามสายการผลิต คือ บางบริษัทนั้นมีประเภทผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทำให้ต้องมีสายการผลิตที่แตกต่างกันออกไป
3.
แบ่งตามภูมิประเทศ คือ บางประเทศนั้นความต้องการของผู้บริโภคนั้นแตกต่างกัน
4.
แบ่งแบบผสมผสาน คือ เอาทั้งหมดมาประยุกต์

บรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศโลกที่หนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาสู่ประเทศโลกที่สามมากขึ้น เหตุผลที่ทำให้บรรษัทข้ามชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศโลกที่สามก็คือ ประการแรก การถูกต่อต้านจากประชาชนและถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจากกฎหมายหรือกลไกภายในประเทศของตน ประการที่สอง การเล็งเห็นผลประโยชน์ในการเข้ามาลงทุนในประเทศโลกที่สาม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตในกระบวนการอุตสาหกรรม รวมถึงอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างในประเทศตน และความล้าหลังของกฎหมาย หรือมาตรการควบคุมการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ โครงสร้างอำนาจข้ามชาติกับบรรษัทข้ามชาติ
โครงสร้างอำนาจสำคัญที่ทำหน้าที่ผลักดันแนวคิด อุดมการณ์ รวมถึงกลไกการจัดการ กำกับให้ทุกประเทศมีทิศทางเศรษฐกิจสังคมในแนวทางเดียวกัน เกิดเป็นโครงสร้างอำนาจข้ามชาติ ได้แก่

1.
กลุ่มประเทศ จี 8 (G 8)
ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น และจีน เป็นกลุ่มประเทศที่มีโครงสร้างอำนาจและฐานะทางเศรษฐกิจเป็นแกนนำทางเศรษฐกิจของสังคมโลก มีอำนาจกำหนดนโยบายเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงินทุน อุดมการณ์และ
ความคิด
2.
องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) องค์กรการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เป็นสถาบันกำกับสมาชิกประเทศให้ดำเนินนโยบายภายใต้ทิศทางทุนนิยมโลก รวมถึงการทำหน้าที่สนับสนุน จัดตั้งหน่วยงานการวางแผน หน่วยงานด่านการดำเนินการและส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการดำเนินนโยบายและบทบาทที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อแนวทางการดำเนินธุรกรรมของบรรษัทข้ามชาติ
3.
บรรษัทข้ามชาติ เป็นองค์กรธุรกิจเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไรโดยผ่านการลงทุนข้ามชาติในธุรกรรมการผลิต การค้า การเงิน ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศโลกที่สาม บทบาทสำคัญอีกประการ คือการเผยแพร่แนวคิดทฤษฎีผ่านการสนับสนุนด้านวิชาการ การศึกษาในรูปของมูลนิธิ เช่น มูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิเอเชีย ฯลฯ

Information : http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=topreport&No=1770

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น