สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจ(ระหว่างประเทศ)
PEST Analysis เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกทางการตลาดระดับมหภาค(Macro Environment) โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วย
1. P – Political วิเคราะห์ผลกระทบจากการเมือง การปกครอง รวมถึงกฎหมายต่างๆ
2. E – Economics วิเคราะห์ผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์
3. S – Social เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบจากสังคม วัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่
4. T – Technology วิเคราะห์ผลกระทบจาก Technology หรือ Innovation อื่นๆ
การวิเคราะห์ PEST ของธุรกิจระหว่างประเทศนั้นมักจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นที่มีความหลากหลายมากกว่าและแตกต่างจากการวิเคราะห์ PEST ของกิจการที่ประกอบการเฉพาะภายในประเทศเพราะเป็นการวิเคราะห์เพื่อการแสวงหาโอกาศและอุปสรรคของกลุ่มประเทศเป้าหมายซึ่งมักมีความแตกต่างกันในทุกประเทศ อาทิเช่น PEST ของประเทศในทวีปเอเชียและอเมริกาเป็นต้น สิ่งแวดล้อมทั่วไปเหล่านี้มักจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายนั้นๆ (โอกาสและอุปสรรค)
Information: www.businessthai.co.th
2552-07-02
Topic- Political enviroment-...Totalitarianism
ต่อจากข้อความที่แล้วน่ะครับ
ระบบการเมืองแบบเผด็จการ คือ ระบบการเมืองการปกครองที่คณะผู้ปกครองใช้อำนาจเหนือประชาชนโดยไม่ยอมรับเสรีภาพหรือความเสมอภาคของประชาชน ระบบเผด็จการมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1.ระบบการปกครองเผด็จการที่ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดเพียงคนเดียว
1.1สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) ในระบบนี้ พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสมบูรณ์และทรงสืบทอดอำนาจผ่านทางราชวงศ์ ได้แก่6ประเทศ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศบาห์เรน ประเทศบรูไน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ประเทศไทย เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
2.ระบบการปกครองเผด็จการโดยกลุ่มคน
2.1คณาธิปไตย(oligarchy)
กลุ่มผู้ปกครองในระบบนี้จะปกครองประเทศเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน โดยผู้ปกครองสามารถเป็นบุคคลสามัญได้ ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลิเบีย
ระบบคอมมิวนิสต์ (communism) ระบบการเมืองแบบนี้เป็นการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเพียงพรรคเดียว รัฐบาลจะกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองประเทศจีน ประเทศคิวบา ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม
หัวข้อต่อมากล่าวถึงรื่องของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. Common Law หรือ วิถีประชา หมายถึง ระบบกฎหมาย ซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยศาลอังกฤษยุคต้นๆ จะเป็นผู้ชี้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นมีไว้ว่าอย่างไร หรือกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีเช่นนั้นศาลอังกฤษก็จะเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาเอง หรือเป็นบรรทัดถานทางสังคมที่คนยอมรับนับถือจนเกิดความเคยชิน ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่ และไม่มีกฎหมายข้อบังคับใด ๆ สั่งให้ปฏิบัติ กับทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่คนคาดหวังกันว่าคนอื่นจะทำหรือไม่ทำอะไรในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การพูดคำ "สวัสดี" การยกมือไหว้ การสวมชุดดำในงานศพ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางพฤติกรรม ไม่มีการบังคับควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อมีการละเมิดผู้ละเมิดก็เพียงได้รับคำติฉินนินทา
2.Civil Law หรือจารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หรือศีลธรรมเฉย ๆ เป็นบรรทัดถานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย
3.Theocratic Law หมายถึง ลัทธิการปกครองโดยพระผู้เป็นเจ้า, การเมืองโดยเทพเจ้า, คณะสงฆ์ที่รวบอำนาจการปกครองแผ่นดิน เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นเกณฑ์ในการร่างกฎหมาย เช่น ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
และสุดท้าย เกี่ยวกับกฎหมาย การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับพวก ทรัพย์สินทางปัญญา
Information :http://www.oknation.net/blog/A5214/2009/06/08/entry-2,
http://www.geocities.com/toplegal2005/Intro2.htm,
http://th.wikipedia.org/
ระบบการเมืองแบบเผด็จการ คือ ระบบการเมืองการปกครองที่คณะผู้ปกครองใช้อำนาจเหนือประชาชนโดยไม่ยอมรับเสรีภาพหรือความเสมอภาคของประชาชน ระบบเผด็จการมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1.ระบบการปกครองเผด็จการที่ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดเพียงคนเดียว
1.1สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) ในระบบนี้ พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสมบูรณ์และทรงสืบทอดอำนาจผ่านทางราชวงศ์ ได้แก่6ประเทศ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศบาห์เรน ประเทศบรูไน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ประเทศไทย เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
2.ระบบการปกครองเผด็จการโดยกลุ่มคน
2.1คณาธิปไตย(oligarchy)
กลุ่มผู้ปกครองในระบบนี้จะปกครองประเทศเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน โดยผู้ปกครองสามารถเป็นบุคคลสามัญได้ ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลิเบีย
ระบบคอมมิวนิสต์ (communism) ระบบการเมืองแบบนี้เป็นการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเพียงพรรคเดียว รัฐบาลจะกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองประเทศจีน ประเทศคิวบา ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม
หัวข้อต่อมากล่าวถึงรื่องของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. Common Law หรือ วิถีประชา หมายถึง ระบบกฎหมาย ซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยศาลอังกฤษยุคต้นๆ จะเป็นผู้ชี้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นมีไว้ว่าอย่างไร หรือกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีเช่นนั้นศาลอังกฤษก็จะเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาเอง หรือเป็นบรรทัดถานทางสังคมที่คนยอมรับนับถือจนเกิดความเคยชิน ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่ และไม่มีกฎหมายข้อบังคับใด ๆ สั่งให้ปฏิบัติ กับทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่คนคาดหวังกันว่าคนอื่นจะทำหรือไม่ทำอะไรในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การพูดคำ "สวัสดี" การยกมือไหว้ การสวมชุดดำในงานศพ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางพฤติกรรม ไม่มีการบังคับควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อมีการละเมิดผู้ละเมิดก็เพียงได้รับคำติฉินนินทา
2.Civil Law หรือจารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หรือศีลธรรมเฉย ๆ เป็นบรรทัดถานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย
3.Theocratic Law หมายถึง ลัทธิการปกครองโดยพระผู้เป็นเจ้า, การเมืองโดยเทพเจ้า, คณะสงฆ์ที่รวบอำนาจการปกครองแผ่นดิน เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นเกณฑ์ในการร่างกฎหมาย เช่น ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
และสุดท้าย เกี่ยวกับกฎหมาย การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับพวก ทรัพย์สินทางปัญญา
Information :http://www.oknation.net/blog/A5214/2009/06/08/entry-2,
http://www.geocities.com/toplegal2005/Intro2.htm,
http://th.wikipedia.org/
Topic- Political enviroment
จากสัปดาห์นี้ที่เรียนสรุปได้ว่า ...การเมืองการปกครองโดยทั่วไปประกอบด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย(democracy) และระบบการปกครองแบบเผด็จการ(totalitarianism ) ขอกล่าวถึงการปกครองแบบประชาธิปไตยก่อน ซึ่ง ประเทศต่างๆ ในโลกกำลังพัฒนาเพื่อปรับตัวให้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ที่แผ่ไปในทุกภูมิภาค การหยุดพัฒนาและปิดกั้นตนเองเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป กระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศต่างๆ ที่สำคัญคือ กระแสการเป็นประชาธิปไตย ที่ทำให้มีการปฏิรูประบบการเมืองการปกครองในนานาประเทศ ทั้งนี้ มีการพัฒนากระบวนการมุ่งสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มากขึ้นโดยที่
การปกครองแบบประชาธิไตยอาจแบ่งได้เป็น2ระบบใหญ่ๆคือ
1.ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy)เป็นเพียงวิธีในการทำให้ผลประโยชน์ของคนในสังคมได้รับการตอบสนองจากรัฐ ผ่านตัวแทนที่เขาได้กากบาทเลือกเข้าไป
2.ประชาธิปไตยแบบเปิดกว้าง(Dialogic Democracy) เป็นประชาธิปไตยที่เน้นการเปิดพื้นที่สาธารณะของคนในสังคม ให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง “เพื่อสร้างบทสนทนาสาธารณะ” (Public Discourse) อันนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน เพื่อสร้างที่ว่างให้ความแตกต่างที่หลากหลาย ให้อยู่ร่วมกันได้ โดยทุกกลุ่มสามารถดำรงความเป็นตัวตนของตนเองได้
ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย3ลักษณะ
1.ประชาธิบไตยแบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและ สภานิติบัญญัติมีประธานาธิบดีที่ถูกเลือกตั้งเป็นประมุขของประเทศเพียงแต่ในนาม รัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญัติ)กับคณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร) จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ประเทศที่ปกครองลักษณะนี้ประกอบด้วย 29 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอันดอร์รา อารูบา ประเทศบังกลาเทศ ประเทศบาร์เบโดส ประเทศบัลแกเรีย ประเทศเช็ก ประเทศโดมินิก ประเทศเกรเนดา เกิร์นซีย์ ประเทศฮังการี ประเทศอิรัก ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอิสราเอล เจอร์ซีย์ ประเทศลัตเวีย ประเทศลิธัวเนีย ประเทศมาซีโดเนีย เกาะแมน ประเทศมอริเชียส ประเทศเนปาล ประเทศโปรตุเกส ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ประเทศเซนต์ลูเซีย ประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ประเทศสโลวาเกีย หมู่เกาะโซโลมอน ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ประเทศตุรกี ประเทศซิมบับเว
2.ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ในการปกครองระบบประชาธิไตยแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(ประธานาธิบดี) และฝ่ายตุลาการ(ศาล)แยกอำนาจออกจากกัน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
3.ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารและเป็นประมุขของประเทศ รวมทั้งสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย
ส่วนประเทศไทย เองตามหลักคือใช้การปกครองแบบ ราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ
ระบบนี้เป็นระบบที่นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติ ประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญผู้ทรงใช้พระราชอำนาจตามความเห็นชอบของรัฐบาล ประชาชน หรือตัวแทนของประชาชน ประกอบด้วย20 ประทศ ประเทศอันดอร์รา ประเทศเบลเยียม ประเทศกัมพูชา ประเทศเดนมาร์กประเทศญี่ปุ่น ประเทศคูเวต ประเทศเลโซโท ประเทศลิกเตนสไตน์ ประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศมาเลเซีย ประเทศโมร็อกโก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศซามัว ประเทศสเปน ประเทศสวีเดน ประเทศตองกา ประเทศภูฏาน ประเทศสวาซิแลนด์ และประเทศไทย
หากกล่าวถึงประเทศไทยของเรา ปัจจุบันความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ข้ามพ้นจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน รูปแบบของการแสวงหาสร้างพื้นที่ของอำนาจ เป็นไปในลักษณะของการทำอย่าไรก็ได้ให้ได้จำนวนคะแนนเสียงที่มากที่สุด(Vote Gain Maximization) เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ที่มากที่สุด เพื่อสร้างความเบ็ดเสร็จของอำนาจในการบริหารให้มากที่สุด อุดมการณ์ของพรรคการเมืองจึงเป็นเรื่องเป้าหมายรองลงไป ถ้าเทียบกับเป้าหมายในเรื่องจำนวนที่นั่งของ ส.ส. ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของการกากบาท ซึ่งนานๆทีจะมีซักครั้ง ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่ม เพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ใช้จากฝ่ายทหาร มาสู่กลุ่มทุนในยุคนี้เท่านั้น หาใช่เป็นเป้าหมายในการเปิดกว้างยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายดังเช่นที่ผู้ริเริ่มหวังไว้
70 กว่าปี ของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย ด้วยกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ ไทยได้พัฒนาด้วยกระบวนการโลกภิวัฒน์ แต่การพัฒนาที่เห็นเด่นชัดที่สุดกลับเป็นแค่การข้ามพ้นจากอำนาจของฝ่ายทหารด้วยพลังของปัญญาชน มาสู่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เท่านั้น การเข้าสัมผัสถึงประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างยังคงห่างไกลนัก
การปกครองแบบประชาธิไตยอาจแบ่งได้เป็น2ระบบใหญ่ๆคือ
1.ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy)เป็นเพียงวิธีในการทำให้ผลประโยชน์ของคนในสังคมได้รับการตอบสนองจากรัฐ ผ่านตัวแทนที่เขาได้กากบาทเลือกเข้าไป
2.ประชาธิปไตยแบบเปิดกว้าง(Dialogic Democracy) เป็นประชาธิปไตยที่เน้นการเปิดพื้นที่สาธารณะของคนในสังคม ให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง “เพื่อสร้างบทสนทนาสาธารณะ” (Public Discourse) อันนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน เพื่อสร้างที่ว่างให้ความแตกต่างที่หลากหลาย ให้อยู่ร่วมกันได้ โดยทุกกลุ่มสามารถดำรงความเป็นตัวตนของตนเองได้
ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย3ลักษณะ
1.ประชาธิบไตยแบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและ สภานิติบัญญัติมีประธานาธิบดีที่ถูกเลือกตั้งเป็นประมุขของประเทศเพียงแต่ในนาม รัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญัติ)กับคณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร) จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ประเทศที่ปกครองลักษณะนี้ประกอบด้วย 29 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอันดอร์รา อารูบา ประเทศบังกลาเทศ ประเทศบาร์เบโดส ประเทศบัลแกเรีย ประเทศเช็ก ประเทศโดมินิก ประเทศเกรเนดา เกิร์นซีย์ ประเทศฮังการี ประเทศอิรัก ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอิสราเอล เจอร์ซีย์ ประเทศลัตเวีย ประเทศลิธัวเนีย ประเทศมาซีโดเนีย เกาะแมน ประเทศมอริเชียส ประเทศเนปาล ประเทศโปรตุเกส ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ประเทศเซนต์ลูเซีย ประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ประเทศสโลวาเกีย หมู่เกาะโซโลมอน ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ประเทศตุรกี ประเทศซิมบับเว
2.ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ในการปกครองระบบประชาธิไตยแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(ประธานาธิบดี) และฝ่ายตุลาการ(ศาล)แยกอำนาจออกจากกัน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
3.ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารและเป็นประมุขของประเทศ รวมทั้งสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย
ส่วนประเทศไทย เองตามหลักคือใช้การปกครองแบบ ราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ
ระบบนี้เป็นระบบที่นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติ ประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญผู้ทรงใช้พระราชอำนาจตามความเห็นชอบของรัฐบาล ประชาชน หรือตัวแทนของประชาชน ประกอบด้วย20 ประทศ ประเทศอันดอร์รา ประเทศเบลเยียม ประเทศกัมพูชา ประเทศเดนมาร์กประเทศญี่ปุ่น ประเทศคูเวต ประเทศเลโซโท ประเทศลิกเตนสไตน์ ประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศมาเลเซีย ประเทศโมร็อกโก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศซามัว ประเทศสเปน ประเทศสวีเดน ประเทศตองกา ประเทศภูฏาน ประเทศสวาซิแลนด์ และประเทศไทย
หากกล่าวถึงประเทศไทยของเรา ปัจจุบันความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ข้ามพ้นจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน รูปแบบของการแสวงหาสร้างพื้นที่ของอำนาจ เป็นไปในลักษณะของการทำอย่าไรก็ได้ให้ได้จำนวนคะแนนเสียงที่มากที่สุด(Vote Gain Maximization) เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ที่มากที่สุด เพื่อสร้างความเบ็ดเสร็จของอำนาจในการบริหารให้มากที่สุด อุดมการณ์ของพรรคการเมืองจึงเป็นเรื่องเป้าหมายรองลงไป ถ้าเทียบกับเป้าหมายในเรื่องจำนวนที่นั่งของ ส.ส. ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของการกากบาท ซึ่งนานๆทีจะมีซักครั้ง ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่ม เพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ใช้จากฝ่ายทหาร มาสู่กลุ่มทุนในยุคนี้เท่านั้น หาใช่เป็นเป้าหมายในการเปิดกว้างยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายดังเช่นที่ผู้ริเริ่มหวังไว้
70 กว่าปี ของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย ด้วยกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ ไทยได้พัฒนาด้วยกระบวนการโลกภิวัฒน์ แต่การพัฒนาที่เห็นเด่นชัดที่สุดกลับเป็นแค่การข้ามพ้นจากอำนาจของฝ่ายทหารด้วยพลังของปัญญาชน มาสู่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เท่านั้น การเข้าสัมผัสถึงประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างยังคงห่างไกลนัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)