1.ลัทธิการค้านิยม-Mercantilism
2.ทฤษฏีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์-Absolute Advantage
3.ทฤษฏีการได้เปรียบเปรียบเทียบ-Comparative Advantage
4.ทฤษฏีของเฮกเชอร์ ออแลง-Heckscher Ohlin Theory
5.ทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์-The Producy Life Cycle Theory
6.ทฤษฏีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ-National Competitive Advantage
- 1) ทฤษฎีลัทธิพาณิชย์นิยม เกิดขึ้นในราวปี ค.ศ.1500-1800 ซึ่งเป็นช่วงที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวและได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆ ทฤษฎีนี้ยึดหลักที่ว่าความมั่งคั่งของประเทศจะขึ้นกับการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะทองคำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประเทศยุโรปส่วนใหญ่มุ่งขยายอาณานิคม (colonial possessions) จะมุ่งเน้นการส่งสินค้าออกมากกว่านำสินค้าเข้าประเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือประเทศคู่ค้า มีการดำเนินนโยบายการผูกขาดทางการค้าโดยการตั้งกำแพงภาษี การห้ามนำเข้า การจำกัดการนำเข้า การจำกัดโควต้า ตลอดจนการเอารัดเอาเปรียบอาณานิคมในการแสวงหาวัตถุดิบ ปัจจุบันยังคงมีบางประเทศที่ยังคงดำเนินแนวความคิดนี้อยู่เช่นประเทศ ไต้หวัน ซึ่ง เรียกว่าเป็นพวกลัทธินิยมสมัยใหม่ (new mercantilism) ซึ่งเป็นทฤษฎีการค้าที่มุ่งให้เกิดดุลการค้าที่น่าพอใจ (favorable balances of trade) เน้นให้มีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าซึ่งเป็นการค้าเกินดุล ขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายทางการเมืองและสังคม มีการจ้างงานเต็มที่ (full employment) โดยมุ่งการผลิตสินค้าให้มากกว่าอุปสงค์ที่มีอยู่ในประเทศ แล้วส่งสินค้าส่วนเกินไปขายในตลาดต่าง ประเทศ หรือความพยายามให้ประเทศสร้างอิทธิพลในท้องถิ่น ทฤษฎีพาณิชย์นิยมสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่แก้ไขต่อเนื่องมาจากทฤษฎีลัทธิพาณิชย์นิยม โดยเน้นความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การ เมือง และสังคม
- 2) ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ โดย อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดในเรื่องการแบ่งงานกันทำ (division of labor) ตามความถนัด ทำให้เกิดความชำนาญ (specialization) ในการผลิตสินค้านั้นที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด ความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ คือความได้เปรียบในการผลิตที่ประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าได้เท่ากับที่ประเทศอื่นผลิตได้โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า หรือในกรณีที่ใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากัน แต่ประเทศที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง ทฤษฎีนี้เชื่อว่าประเทศหนึ่งจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มีประสิทธิภาพมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่าแล้วส่งสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนต้องการ อดัม สมิธ จะเน้นให้ใช้นโยบายการค้าเสรี (free trade policy) โดยไม่มีการควบคุมแทรกแซงใด ๆ จากรัฐ เพื่อส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกแรงงานอย่างเต็มที่ให้ทุกประเทศได้เลือกผลิตสินค้าแต่เฉพาะที่สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน หากการค้าของโลกไม่มีข้อจำกัดแต่ละประเทศจะมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน โดยแต่ละประเทศจะมุ่งผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage)
- 3)ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศเชิงเปรียบเทียบ โดยเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ควรมุ่งผลิตสินค้าที่ตนสามารถผลิตได้โดยเสียต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบ การกระทำเช่นนี้ ทำให้ทุกประเทศได้รับผลประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) หรือก็คือการที่ ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากัน ประเทศที่ผลิตสินค้าโดยเสียต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด จะผลิตสินค้านั้นเพื่อการส่งออก
ข้อจำกัด
1.ทฤษฎีนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมมติฐานที่ว่ามีเพียง 2 ประเทศ และสินค้าเพียง 2 ชนิดเท่านั้นในโลกนี้ แต่ในความเป็นจริงกลับมีประเทศมากมายและสินค้าหลากหลายในโลก
2.จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมมติฐานที่ว่าไม่มีต้นทุนการขนส่งระหว่างสองประเทศ
3.ราคาที่แตกต่างกันจึงไม่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนด้วยอัตราส่วน1 ต่อ 1
4.ตั้งบนสมมติฐานที่ว่าทรัพยากรไม่สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้อย่างเสรี
5.ตั้งบนสมมติฐานจำนวนหรือปริมาณทรัพยากรที่ใช้ผลิตสินค้าต้องคงที่เสมอ
6. ตั้งบนด้วยสมมติฐานที่ว่า รายได้ประชากรของทั้งสองประเทศไม่มีผลต่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- 4)ทฤษฏีของเฮกเชอร์ ออแลง เน้นในเรื่องความแตกต่างกันของปัจจัยการผลิตเริ่มต้น (Factor Endownments) ที่แต่ละประเทศมีอยู่ และราคาปัจจัยการผลิต (Factor Prices) ระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการค้า (โดยมีสมมติฐานว่าเทคโนโลยีและรสนิยมเหมือนกัน) ตามทฤษฏีนี้ แต่ละประเทศจะส่งออกสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่มีมากโดยเปรียบเทียบซึ่งทำให้ปัจจัยการผลิตนั้นมีราคาถูก และนำเข้าสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่หายากโดยเปรียบเทียบซึ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะมีราคาแพง
- 5.ทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
สาเหตุมาจากผู้บริโภคมีความต้องการและรสนิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาสินค้าอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขั้นตอนของวงจรผลิตภัณฑ์ดังนี้
ระยะ 1 ระยะของสินค้าใหม่ ผลิตในบริษัทแม่ และขายในประเทศแม่ สินค้าส่วนที่เหลือส่งไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิต
ระยะ 2 ระยะของการเจริญเติบโตของสินค้า สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เพราะชื่อเสียงและคุณภาพของสินค้าของบริษัทแม่
ระยะ 3 ระยะที่สินค้ามีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ธุรกิจจะเริ่มลงทุนการผลิตในต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการสินค้าของผู้บริโภค
ระยะ 4 ระยะที่เคยส่งสินค้าออกอาจจะกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าว เนื่องจากการสูญเสียการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
จุดมุ่งหมายของธุรกิจคือการสร้างกำไรสูงสุดให้กับกิจการ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มยอดขายให้กับกิจการ ดังนั้นเมื่อธุรกิจใด ๆ พบว่าตลาดภายในประเทศของตนเองถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งไม่สามารถขยายตลาดได้อีกต่อไป อาจเนื่องมาจากการแข่งขันภายในประเทศหรือระยะอิ่มตัวของผลิตภัณฑ์ บริษัทนั้น ๆ ต้องพยายามแสวงหาตลาดใหม่ในประเทศอื่น ๆ
- 6.ทฤษฏีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดย ไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ (Michael E. Porter)
เน้นแนวคิดที่ว่า "ประเทศใดจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ภายในประเทศจะต้องมีความได้เปรียบจากการแข่งขันก่อน" แต่ละประเทศจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะต้องพิจารณาจากปัจจัย 4 ปัจจัย
คือ1. สถานะด้านปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และทุน รวมถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ส่งผลต่อการผลิตสินค้า ซึ่งปัจจัยตัวแรกนี้เป็นผลกระทบในด้านของทุน เราจะต้องพิจารณาตัวเราก่อนว่าปัจจัยการผลิตของเรามีความได้เปรียบอย่างไรบ้าง
2. สถานะด้านอุปสงค์ เมื่อผลิตและจำหน่ายภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของเราสามารถครอง Market Share ได้ที่ 1 อุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศสูง ก็เป็นความได้เปรียบของธุรกิจและมีโอกาสในการออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน ธุรกิจจะต้องพิจารณาว่า supplier (ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ)นั้น หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เช่น บริษัทขนส่ง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่ เราอาจไม่จำเป็นต้องมี supplier อยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้น แต่สามารถแสวงหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูกจากต่างประเทศก็ได้เช่นกัน
4. กลยุทธ โครงสร้างการแข่งขันของบริษัท กลยุทธ์และโครงสร้างที่ดีจะต้องสามารถปรับให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันของธุรกิจได้ มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา