บริษัทข้ามชาติ (Multinational Company) คือ บริษัทที่ขยายธุรกิจด้วยการสร้างบริษัทลูกในต่างประเทศ โดยบริษัทลูกจะมีความรับผิดชอบในเรื่องการปรับตัว การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม การแข่งขัน และความต้องการของลูกค้าในประเทศนั้น ๆ ด้วยตัวเอง หรือ คือธุรกิจที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน สามารถควบคุมการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ที่ดิน สำหรับการผลิตวัตถุดิบ สำนักงาน ที่ทำหน้าที่ขาย โดยมีทรัพย์สินกระจายอยู่ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป
ประกอบด้วย 4 รูปแบบคือ
1.แบ่งตามหน้าที่ คือ แบ่งเป็นแผนกในการบริหาร
2.แบ่งตามสายการผลิต คือ บางบริษัทนั้นมีประเภทผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทำให้ต้องมีสายการผลิตที่แตกต่างกันออกไป
3.แบ่งตามภูมิประเทศ คือ บางประเทศนั้นความต้องการของผู้บริโภคนั้นแตกต่างกัน
4.แบ่งแบบผสมผสาน คือ เอาทั้งหมดมาประยุกต์
บรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศโลกที่หนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาสู่ประเทศโลกที่สามมากขึ้น เหตุผลที่ทำให้บรรษัทข้ามชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศโลกที่สามก็คือ ประการแรก การถูกต่อต้านจากประชาชนและถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจากกฎหมายหรือกลไกภายในประเทศของตน ประการที่สอง การเล็งเห็นผลประโยชน์ในการเข้ามาลงทุนในประเทศโลกที่สาม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตในกระบวนการอุตสาหกรรม รวมถึงอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างในประเทศตน และความล้าหลังของกฎหมาย หรือมาตรการควบคุมการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ โครงสร้างอำนาจข้ามชาติกับบรรษัทข้ามชาติ
โครงสร้างอำนาจสำคัญที่ทำหน้าที่ผลักดันแนวคิด อุดมการณ์ รวมถึงกลไกการจัดการ กำกับให้ทุกประเทศมีทิศทางเศรษฐกิจสังคมในแนวทางเดียวกัน เกิดเป็นโครงสร้างอำนาจข้ามชาติ ได้แก่
1.กลุ่มประเทศ จี 8 (G 8) ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น และจีน เป็นกลุ่มประเทศที่มีโครงสร้างอำนาจและฐานะทางเศรษฐกิจเป็นแกนนำทางเศรษฐกิจของสังคมโลก มีอำนาจกำหนดนโยบายเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงินทุน อุดมการณ์และ
ความคิด
2.องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) องค์กรการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เป็นสถาบันกำกับสมาชิกประเทศให้ดำเนินนโยบายภายใต้ทิศทางทุนนิยมโลก รวมถึงการทำหน้าที่สนับสนุน จัดตั้งหน่วยงานการวางแผน หน่วยงานด่านการดำเนินการและส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการดำเนินนโยบายและบทบาทที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อแนวทางการดำเนินธุรกรรมของบรรษัทข้ามชาติ
3.บรรษัทข้ามชาติ เป็นองค์กรธุรกิจเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไรโดยผ่านการลงทุนข้ามชาติในธุรกรรมการผลิต การค้า การเงิน ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศโลกที่สาม บทบาทสำคัญอีกประการ คือการเผยแพร่แนวคิดทฤษฎีผ่านการสนับสนุนด้านวิชาการ การศึกษาในรูปของมูลนิธิ เช่น มูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิเอเชีย ฯลฯ
Information : http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=topreport&No=1770
2552-09-19
Multinational Company
Mode of Entry
ตัวกลางในการกระจายสินค้าของเราก็คือ “คนกลาง” หรือ “ช่องทางจำหน่าย”
ในการทำการค้าระหว่างประเทศ อาจแบ่งนโยบายการจัดจำหน่าย (Distribution Policy) หรือวิธีการเจาะเข้าไปในตลาดเป้าหมายได้ 2 วิธี หรือ 2 ช่องทางใหญ่ๆ คือ
วิธีแรก ผลิตในประเทศแล้วส่งออก ซึ่งก็มี 2 วิธีคือ
1.การส่งออกทางอ้อม (Indirect Export) หมายถึงการส่งออกโดยผ่านกลุ่มคนกลางในประเทศ เช่น Trading Company, Buying Agent
2.การส่งออกทางตรง (Direct Export) หมายถึงผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออกโดยตรง โดยส่งออกหรือขายให้กับกลุ่มคนกลางในต่างประเทศ เช่น Importer, Wholesaler, Retailer, Agent Overseas Marketing Subsidiary
วิธีที่สอง ผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศ คือไปทำการผลิตและจำหน่ายในประเทศเป้าหมาย ซึ่งสามารถเลือกวิธีการผลิตได้ 6วิธี
1. Exporting
2.Turnkey project
3.Licensing
4.Franchising
5.Joint Ventures
6.Wolly owned Subsidianes
Information : http://www.ksmecare.com/News_Popup.aspx?ID=4498
International strategic Analysis
-องค์ประกอบภายในคือดูจาก value chain คือการวิเคราะห์จากองค์ประกอบภาพรวมทั้งองค์กร
- ปัจจัยพื้นฐานหลัก-การขนส่งปัจจัยการผลิต
-กระบวนการผลิต
-การขนส่งสินค้าสู่ผู้บริโภค
-การตลาด
-การบริหารจัดการ
- ปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน-ปัจจัยด้านสาธารณูปโภค
-การบริหารทรัพยาการมนุษย์
-เทคโนโลยี
-การจัดการ
การกำหนดกลยุทธ์ระดับนานานชาติ
กลยุทธ์ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งวิเคราะห์จากการแบ่งอำนาจการบริหาร แลโครงสร้างขององค์กร
1.กลยุทธ์ระหว่างประเทศ-เป็นการรวมอำนาจศุ่ส่วนกลางต้องการความเป้ฯเอกภาพ
2.กลยุทธ์การปรับหาท้องถิ่น-เป็นการกระจายอำนาจ สู่ความต้องการผู้บริโถฃภคดดยตรง
3.กลยุทธ์ที่มุ่งสร้างความเป็นสากล-เน้นสร้างมาตรฐานหรือความเป็นเอกภาพแก่ตัวสินค้า
4.กลยุทธ์ข้ามชาติ-เป็นการผสมผสานทุกๆวิธีการ
สุดท้ายคือการประเมิน ควบคุม และปรับกลยุทธ์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ขององค์กรทั้งภายนอกภายใน ซึ่งอาจมีปะญหา โดยวิเคราะห์จากงบการเงิน หรือในระดับมหัพภาค และจุลภาค
Information : http://school.obec.go.th/keansapitayakom/business/co_nation.htm
Five Force model
แนวทางการวิเคราะห์ของ Michael E. Porter มีดังนี้
1. อุปสรรคกีดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรม(Rivalry Among Current Competitors) จะได้แก่
- การประหยัดจากขนาด (Economies of scale) เนื่องจากผลิตสินค้าที่เป็นมาตรฐานจำนวนมาก ซึ่งทำให้
ต้นทุนของสินค้าลดต่ำลง เพราะสามารถลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง
- การผูกพันในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty)
- เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่
- การเข้าถึงช่องจัดจำหน่าย (Access to distribution)
- นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน
- ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้า (Switching cost) ถ้าลูกค้าต้องมีต้นทุน หรือค้าใช้
จ่ายในส่วนนี้สูง ต้นทุนเหล่านี้ซึ่งอาจได้แก่ ต้นทุนของอุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องปรับเปลี่ยนเพิ่ม หรือ
อาจจะเป็นระบบงานที่ต้องจัดรูปแบบใหม่ ค่าฝึกอบรมแลสอนงานให้กับพนักงานเพื่อให้ทำงานตามระบบ
ใหม่เป็นต้น
- ข้อได้เปรียบต้นทุนในด้านอื่นๆ เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเฉพาะ มีวัตถุดิบราคาถูก มีทำเลที่ตั้งดีกว่า มี
แหล่งเงินทุนที่ต้นทุนถูก และทำมานนานจนเกิดการเรียนรู้
2. แรงผลักดันจากผู้ผลิตหรือคู่แข่งที่มีในอุตสาหกรรม (Threat of New Entrance)
- จำนวนคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งขันมีจำวนมาก หรือ มีขีดความสามารถพอๆกัน จะทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรง
- อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโต การแข่งขันจะไม่รุนแรงมากนัก
- ความแตกต่างของสินค้า ถ้าสินค้ามีความแตกต่างกันไป การแข่งขันก็จะน้อยลง
- ความผูกพันในตรายี่ห้อ
- กำลังการผลิตส่วนเกิน ถ้าอุตสาหกรรมมีกำลังผลิตส่วนเกิน การแข่งขันจะรุนแรง
- ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ และต้นทุนในการเก็บรักษา
- อุปสรรคกีดขวางการออกจากอุตสาหกรรม เช่น ข้อตกลงกับสหภาพแรงงานในการจ่ายชดเชยที่สูงมาก
3. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (ซัพพลายเออร์)(Bargaining Power of Suppliers)
- จำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของผู้ขายจะสูง
- ระดับการรวมตัวกันของผู้ขายวัตถุดิบ ถ้าผู้ขายรวมตัวกันได้ อำนาจการต่อรองก็จะสูง
- จำวนวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่มี ถ้าวัตถุดิบมีน้อย อำนาจต่อรองจะสูง
- ความแตกต่างและเหมือนกันของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างกันมาก อำนาจต่อรองผู้ขายจะสูง
4. อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Customers )
- ปริมาณการซื้อ ถ้าซื้อมาก ก็มีอำนาจการต่อรองสูง
- ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าได้รับเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขาย ถ้าลูกค้ามีข้อมูลมาก ก็ต่อรองได้มาก
- ความจงรักภักดีต่อยี่ห้อ
- ความยากง่ายในการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ซื้อ ถ้าลูกค้ารวมตัวกันง่ายก็มีอำนาจต่อรองสูง
- ความสามารถของผู้ซื้อที่จะมีการรวมกิจการไปดานหลัง คือ ถ้าลูกค้าสามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตนเอง
อำนาจการต่อรองก็จะสูง
- ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคนอื่น หรือ ใช้สินค้าของคู่แข่งแล้วลูกค้าต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยน
สูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ
5. แรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้ (Threat of Substitute Products or Services)
- ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน เช่น เครื่องปรับอากาศกับพัดลม
- ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน
- ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแทน
Five Forces Model เป็น what to แต่องค์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันได้ครบถ้วนนั้นคือ How to build Competitive Advantage เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการประสบความสำเร็จในธุรกิจ กลยุทธ์ทั่วไปหรือ Generic Strategy มีอยู่สามชนิดตามแนวคิดของ พอร์ตเตอร์ คือ
- 1. Differentiation คือ การสร้างความแตกต่างให้สินค้าหรือบริการ โดนเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มคุณค่าสินค้า (Value Added) จะทำให้สินค้าหรือบริการสามารถขายในราคาที่สูงได้
- 2. Cost Leadership คือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยผู้ใดมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
- 3. Focus ผู้ให้บริการมุ่งเจาะสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ทำ Consumer Segmentation แล้วเลือกเจาะกลุ่มผู้บริโภค เช่น ทำตลาดกลุ่ม ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่าง Life Style เป็นต้น
- Information: http://www.vcharkarn.com/vblog/41769 ,http://www.geocities.com/dol_nida/
2552-08-23
International Strategic
กลยุทธ์ เป็นการ วางแผนเกี่ยวกับเป้าหมายระยะยาว เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์(เป้าหมาย)และภารกิจ(หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติบัติ)
วิเคราะห์ SWOT (สภาพแวดล้อม)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก : การพิจารณาโอกาสและอุปสรรค อันได้แก่ เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม, เทคโนโลยี, ด้านกายภาพ, การเมืองและกฎหมาย, ด้านต่างประเทศ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน : การพิจาณาจุดอ่อนและจุดแข็ง ซึ่งใช่การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value -Chain) หรือก็คือ การให้ความ สำคัญกับทุกขั้นตอนของกระบวนการภายในธุรกิจ
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ มี 5 ขั้นตอนที่สำคัญคือ
1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
3.การกำหนดภารกิจขององค์กร
4.การกำหนดกลยุทธ์
5.การกำหนดแผนปฏิบัติการ
การวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย
1. ระดับบริษัท เป็นกลยุทธ์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมธุรกิจในเครือ
2. ระดับธุรกิจ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจแต่ละชนิด ซึ่งเป็นการกำหนดนโยบายในการแข่งขันให้เหมาะสมกับชนิดของธุรกิจ
3. ระดับหน้าที่ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานแต่ละหน้าที่ภายในธุรกิจ
การวิเคราะห์กลยุทธ์ วิเคราะห์จากสถานการณ์ภายนอก(PESTและFive Forces Model)และภายใน (value chain)
ซึ่งผมจะอธิบาย Five Force Model ในหัวข้อถัดไปน่ะครับ
2552-08-22
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
1.ลัทธิการค้านิยม-Mercantilism
2.ทฤษฏีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์-Absolute Advantage
3.ทฤษฏีการได้เปรียบเปรียบเทียบ-Comparative Advantage
4.ทฤษฏีของเฮกเชอร์ ออแลง-Heckscher Ohlin Theory
5.ทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์-The Producy Life Cycle Theory
6.ทฤษฏีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ-National Competitive Advantage
- 1) ทฤษฎีลัทธิพาณิชย์นิยม เกิดขึ้นในราวปี ค.ศ.1500-1800 ซึ่งเป็นช่วงที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวและได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆ ทฤษฎีนี้ยึดหลักที่ว่าความมั่งคั่งของประเทศจะขึ้นกับการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะทองคำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประเทศยุโรปส่วนใหญ่มุ่งขยายอาณานิคม (colonial possessions) จะมุ่งเน้นการส่งสินค้าออกมากกว่านำสินค้าเข้าประเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือประเทศคู่ค้า มีการดำเนินนโยบายการผูกขาดทางการค้าโดยการตั้งกำแพงภาษี การห้ามนำเข้า การจำกัดการนำเข้า การจำกัดโควต้า ตลอดจนการเอารัดเอาเปรียบอาณานิคมในการแสวงหาวัตถุดิบ ปัจจุบันยังคงมีบางประเทศที่ยังคงดำเนินแนวความคิดนี้อยู่เช่นประเทศ ไต้หวัน ซึ่ง เรียกว่าเป็นพวกลัทธินิยมสมัยใหม่ (new mercantilism) ซึ่งเป็นทฤษฎีการค้าที่มุ่งให้เกิดดุลการค้าที่น่าพอใจ (favorable balances of trade) เน้นให้มีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าซึ่งเป็นการค้าเกินดุล ขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายทางการเมืองและสังคม มีการจ้างงานเต็มที่ (full employment) โดยมุ่งการผลิตสินค้าให้มากกว่าอุปสงค์ที่มีอยู่ในประเทศ แล้วส่งสินค้าส่วนเกินไปขายในตลาดต่าง ประเทศ หรือความพยายามให้ประเทศสร้างอิทธิพลในท้องถิ่น ทฤษฎีพาณิชย์นิยมสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่แก้ไขต่อเนื่องมาจากทฤษฎีลัทธิพาณิชย์นิยม โดยเน้นความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การ เมือง และสังคม
- 2) ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ โดย อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดในเรื่องการแบ่งงานกันทำ (division of labor) ตามความถนัด ทำให้เกิดความชำนาญ (specialization) ในการผลิตสินค้านั้นที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด ความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ คือความได้เปรียบในการผลิตที่ประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าได้เท่ากับที่ประเทศอื่นผลิตได้โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า หรือในกรณีที่ใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากัน แต่ประเทศที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง ทฤษฎีนี้เชื่อว่าประเทศหนึ่งจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มีประสิทธิภาพมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่าแล้วส่งสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนต้องการ อดัม สมิธ จะเน้นให้ใช้นโยบายการค้าเสรี (free trade policy) โดยไม่มีการควบคุมแทรกแซงใด ๆ จากรัฐ เพื่อส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกแรงงานอย่างเต็มที่ให้ทุกประเทศได้เลือกผลิตสินค้าแต่เฉพาะที่สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน หากการค้าของโลกไม่มีข้อจำกัดแต่ละประเทศจะมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน โดยแต่ละประเทศจะมุ่งผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage)
- 3)ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศเชิงเปรียบเทียบ โดยเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ควรมุ่งผลิตสินค้าที่ตนสามารถผลิตได้โดยเสียต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบ การกระทำเช่นนี้ ทำให้ทุกประเทศได้รับผลประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) หรือก็คือการที่ ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากัน ประเทศที่ผลิตสินค้าโดยเสียต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด จะผลิตสินค้านั้นเพื่อการส่งออก
ข้อจำกัด
1.ทฤษฎีนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมมติฐานที่ว่ามีเพียง 2 ประเทศ และสินค้าเพียง 2 ชนิดเท่านั้นในโลกนี้ แต่ในความเป็นจริงกลับมีประเทศมากมายและสินค้าหลากหลายในโลก
2.จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมมติฐานที่ว่าไม่มีต้นทุนการขนส่งระหว่างสองประเทศ
3.ราคาที่แตกต่างกันจึงไม่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนด้วยอัตราส่วน1 ต่อ 1
4.ตั้งบนสมมติฐานที่ว่าทรัพยากรไม่สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้อย่างเสรี
5.ตั้งบนสมมติฐานจำนวนหรือปริมาณทรัพยากรที่ใช้ผลิตสินค้าต้องคงที่เสมอ
6. ตั้งบนด้วยสมมติฐานที่ว่า รายได้ประชากรของทั้งสองประเทศไม่มีผลต่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- 4)ทฤษฏีของเฮกเชอร์ ออแลง เน้นในเรื่องความแตกต่างกันของปัจจัยการผลิตเริ่มต้น (Factor Endownments) ที่แต่ละประเทศมีอยู่ และราคาปัจจัยการผลิต (Factor Prices) ระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการค้า (โดยมีสมมติฐานว่าเทคโนโลยีและรสนิยมเหมือนกัน) ตามทฤษฏีนี้ แต่ละประเทศจะส่งออกสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่มีมากโดยเปรียบเทียบซึ่งทำให้ปัจจัยการผลิตนั้นมีราคาถูก และนำเข้าสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่หายากโดยเปรียบเทียบซึ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะมีราคาแพง
- 5.ทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
สาเหตุมาจากผู้บริโภคมีความต้องการและรสนิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาสินค้าอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขั้นตอนของวงจรผลิตภัณฑ์ดังนี้
ระยะ 1 ระยะของสินค้าใหม่ ผลิตในบริษัทแม่ และขายในประเทศแม่ สินค้าส่วนที่เหลือส่งไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิต
ระยะ 2 ระยะของการเจริญเติบโตของสินค้า สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เพราะชื่อเสียงและคุณภาพของสินค้าของบริษัทแม่
ระยะ 3 ระยะที่สินค้ามีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ธุรกิจจะเริ่มลงทุนการผลิตในต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการสินค้าของผู้บริโภค
ระยะ 4 ระยะที่เคยส่งสินค้าออกอาจจะกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าว เนื่องจากการสูญเสียการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
จุดมุ่งหมายของธุรกิจคือการสร้างกำไรสูงสุดให้กับกิจการ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มยอดขายให้กับกิจการ ดังนั้นเมื่อธุรกิจใด ๆ พบว่าตลาดภายในประเทศของตนเองถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งไม่สามารถขยายตลาดได้อีกต่อไป อาจเนื่องมาจากการแข่งขันภายในประเทศหรือระยะอิ่มตัวของผลิตภัณฑ์ บริษัทนั้น ๆ ต้องพยายามแสวงหาตลาดใหม่ในประเทศอื่น ๆ
- 6.ทฤษฏีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดย ไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ (Michael E. Porter)
เน้นแนวคิดที่ว่า "ประเทศใดจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ภายในประเทศจะต้องมีความได้เปรียบจากการแข่งขันก่อน" แต่ละประเทศจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะต้องพิจารณาจากปัจจัย 4 ปัจจัย
คือ1. สถานะด้านปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และทุน รวมถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ส่งผลต่อการผลิตสินค้า ซึ่งปัจจัยตัวแรกนี้เป็นผลกระทบในด้านของทุน เราจะต้องพิจารณาตัวเราก่อนว่าปัจจัยการผลิตของเรามีความได้เปรียบอย่างไรบ้าง
2. สถานะด้านอุปสงค์ เมื่อผลิตและจำหน่ายภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของเราสามารถครอง Market Share ได้ที่ 1 อุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศสูง ก็เป็นความได้เปรียบของธุรกิจและมีโอกาสในการออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน ธุรกิจจะต้องพิจารณาว่า supplier (ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ)นั้น หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เช่น บริษัทขนส่ง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่ เราอาจไม่จำเป็นต้องมี supplier อยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้น แต่สามารถแสวงหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูกจากต่างประเทศก็ได้เช่นกัน
4. กลยุทธ โครงสร้างการแข่งขันของบริษัท กลยุทธ์และโครงสร้างที่ดีจะต้องสามารถปรับให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันของธุรกิจได้ มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
2552-07-08
Culture
รู้สึก อ.จะพูดถุงการแบ่ง วัฒนธรรมตามพื้นที่ประเทศหรือโดยภูมิภาค กล่าวถึงประเทศแถบเอเชีย แม้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศเอเซียจะสูงมากก็ตาม แต่ก็ยังมีอิทธิพลของการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมให้เห็นไม่น้อย แม้เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามไม่ใช้ภาษาจีนในการพูด แต่ภาษาของประเทศเหล่านี้ก็มีอิทธิพลของจีนทั้งการพูดและการเขียน ดังนั้น ในเอเซียตะวันออก อักษรจีนจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวกลางของอิทธิพล ด้านศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า มีผลกระทบสูงต่อวัฒนธรรมประเพณีของประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออก รวมทั้งการมีลัทธิขงจื๊อผสมปนอยู่ในปรัชญาทางสังคมและศีลธรรมของประเทศเหล่านี้
ศาสนาฮินดูและ อิสลามส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อประชากรในเอเซียใต้มานานนับหลายร้อยปี เช่นเดียวกันที่ศาสนาพุทธแพร่กระจายเป็นอย่างมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แ ประเทศที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมมากที่สุด คือประเทศ สิงคโปร์ เพราะมีความเป็นอยู่คล้ายชาวตะวันตกมากกว่า
รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เกิดจาก2ปัจจัย คือ
-Choice ตัวเราเองคือคนตัดสิน
-Imposition ถูกสิ่งเร้าอื่นควบคุม
ซึ่งคนเราสามารถรับรู้หรือเราเอาวัฒนธรรมได้ตั้งแต่อายุ 10ขวบ คือ เริ่มรับรู้ซึมซับสิ่งต่างๆรอบตัว
ต่อมาคือ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรม มากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม
การรับวัฒนธรรมอื่น (Acculturation) หมายถึงการเปลี่ยนแทนลักษณะรากฐานจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง เช่นที่เกิดกับชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกาบางเผ่า รวมทั้งกลุ่มชนพื้นเมืองจำนวนมากทั่วโลกในระหว่างกระบวนการการครอบครองอาณานิคม กระบวนการอื่นที่สัมพันธ์ในระดับปัจเจกบุคคลรวมถึงการผสมกลมกลืน (การยอมรับเอาวัฒนธรรมอื่นมาเป็นของตนในระดับบุคคล) และการผ่านข้ามทางวัฒนธรรม(transculturation)
จากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ที่แพร่กระจายไปทั่วทั้งโลก ก่อให้เกิดยุคที่การสื่อสารสามารถทำได้ง่ายดายและไร้พรมแดน เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ในสมัยก่อนนั้น โลกของเราแข่งขันกันด้วยสงครามทางอาวุธ จากนั้นพัฒนาเป็นการแข่งขันด้วยสงครามเศรษฐกิจ จนถึงปัจจุบันเราได้แข่งขันกันครอบงำประเทศอื่นๆด้วยสงครามทางวัฒนธรรม หรือกระบวนการที่เรียกว่า “Creolization” มีความหมายว่า การพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมของตนให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศได้ใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนในประเทศเหล่านี้ชอบที่จะเปิดรับความศิวิไลซ์ ทำให้ถูกครอบงำได้โดยง่ายผ่านการเสพสินค้าและบริการ ประเทศที่เป็นผู้นำด้านนโยบายการส่งออกทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และรายล่าสุด เกาหลี ซึ่งถือว่าเป็นน้องใหม่ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนี้ ในยุคที่แบรนด์จากซีกโลกตะวันตกเริ่มอ่อนล้า เพราะถูกถาโถมด้วยพลังที่แรงกล้าของกระแสแห่งลมตะวันออก
คอลัมนิสต์ท่านหนึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า “การชนะด้วยสงครามทางเศรษฐกิจอาจจะทำได้ไม่สำเร็จ ถ้าไม่สามารถทำให้คลั่งไคล้และหลงใหลในวัฒนธรรมของชาตินั้น” เห็นจะเป็นจริงตามที่ท่านได้กล่าวไว้ หากจะเปรียบเทียบคำกล่าวนี้กับนิยามทางการตลาด การทำให้คนคลั่งไคล้และหลงใหลก็เสมือนกับการสร้าง Brand Value ให้กับวัฒนธรรมเหล่านั้น เมื่อผู้บริโภคมองเห็นคุณค่าในตัวแบรนด์ ผู้บริโภคก็ย่อมยินดีที่จะบริโภคสิ่งเหล่านั้น ด้วยความรัก ความหลงใหลได้ปลื้ม ซึ่งนำไปสู่ความภักดีในตัวแบรนด์ในที่สุด
Creolization: การกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรมของชาติผู้รุกราน
กล่าวถึงผู้นำของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัฒนธรรมควบคุมชาติอื่นคือ อเมริกา เพราะอเมริกาเริ่มคิดว่าการชนะด้วยสงครามเศรษฐกิจคงจะทำไม่ได้ง่ายนัก หากแต่ใช้ “สงครามวัฒนธรรม” (Cultural War) ก็จะสามารถชนะได้ในทุกภูมิภาคของโลกโดยการส่งสินค้าอเมริกันตามเข้าไปเมื่อกลืนวัฒนธรรมของชาตินั้นได้แล้ว เช่น การเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของคนให้ดื่มกาแฟตอนเช้า กินขนมปังไส้หมูหรือฮอทดอก เวลากระหายน้ำก็ดื่มน้ำอัดลมที่มีอยู่เพียง 2 ยี่ห้อที่จะทำให้เป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนทันสมัย เสื้อผ้า กระเป๋า รถยนต์ สารพัดที่เป็นสไตล์อเมริกัน ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยการตลาดย้อนยุค (Retro Marketing) ที่เราเห็นๆ กันอยู่
ประเทศที่2 คือประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อ ซัก10กว่าปีที่ผ่านมาปฏิเสธ ไม่ได้ถึงความแรงของญี่ปุ่นทั้งเพลง แฟชั่น ละคร วัยรุ่นบ้านเรารับวัฒนธรรมต่างๆมากมายทั้งอาหารการกินต่างๆมากมาย ซึ่งพอถึงยุคปัจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นช่าวอิ่มตัวของกระแสญี่ปุ่น ในclass อ.กล่าวถึงแฟชั่น big eye จริงๆเป็นกระแสของญี่ปุ่น ที่เกาหลีรับไป เพราะ big eye ของ จีโอ ที่เป็น ญี่ห้อขายดีต้อง made in japan เพราะ made in korea จะถูกกว่าครึ่งต่อครึ่ง อันนี้ เจ้าของเค้าสอนวิธีสังเกต*-*หากอยากได้ของจริงๆ
ประเทศต่อมาคือ เกาหลี วัฒนธรรมเกหลีแทรกซึกสู่บ้านเรามากมายหลายสิ่ง จนเกิดเป็น “เกาหลีฟีเวอร์” เกาหลีสร้างกระแสโดยใช้กลยุทธ์สื่อสารวัฒนธรรมของตัวเองผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงหลายแขนง อันได้แก่ ละคร เพลง ภาพยนตร์ เกมออนไลน์ วรรณกรรม การ์ตูน แอนิเมชั่น ฯลฯ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศโดยรวม โดยหวังให้สิ่งเหล่านี้สามารถต่อยอดส่งผลพลอยได้ไปยังธุรกิจอื่นๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาหารเกาหลี แฟชั่นการแต่งตัว เครื่องสำอางค์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ความสำเร็จของเกาหลีในวันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ หากแต่หลากหลายกลยุทธ์ได้ถูกวางแผนมาอย่างดีเพื่อหลอมรวมสร้างคุณค่าให้กับ “การส่งออกทางวัฒนธรรมของเกาหลี
Information :http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005aug19p11.htm
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=19342
http://www.oknation.net/blog/DNT/2007/03/30/entry-19
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=16081
2552-07-02
Topic-สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจ(ระหว่างประเทศ)
PEST Analysis เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกทางการตลาดระดับมหภาค(Macro Environment) โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วย
1. P – Political วิเคราะห์ผลกระทบจากการเมือง การปกครอง รวมถึงกฎหมายต่างๆ
2. E – Economics วิเคราะห์ผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์
3. S – Social เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบจากสังคม วัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่
4. T – Technology วิเคราะห์ผลกระทบจาก Technology หรือ Innovation อื่นๆ
การวิเคราะห์ PEST ของธุรกิจระหว่างประเทศนั้นมักจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นที่มีความหลากหลายมากกว่าและแตกต่างจากการวิเคราะห์ PEST ของกิจการที่ประกอบการเฉพาะภายในประเทศเพราะเป็นการวิเคราะห์เพื่อการแสวงหาโอกาศและอุปสรรคของกลุ่มประเทศเป้าหมายซึ่งมักมีความแตกต่างกันในทุกประเทศ อาทิเช่น PEST ของประเทศในทวีปเอเชียและอเมริกาเป็นต้น สิ่งแวดล้อมทั่วไปเหล่านี้มักจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายนั้นๆ (โอกาสและอุปสรรค)
Information: www.businessthai.co.th
Topic- Political enviroment-...Totalitarianism
ระบบการเมืองแบบเผด็จการ คือ ระบบการเมืองการปกครองที่คณะผู้ปกครองใช้อำนาจเหนือประชาชนโดยไม่ยอมรับเสรีภาพหรือความเสมอภาคของประชาชน ระบบเผด็จการมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1.ระบบการปกครองเผด็จการที่ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดเพียงคนเดียว
1.1สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) ในระบบนี้ พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสมบูรณ์และทรงสืบทอดอำนาจผ่านทางราชวงศ์ ได้แก่6ประเทศ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศบาห์เรน ประเทศบรูไน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ประเทศไทย เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
2.ระบบการปกครองเผด็จการโดยกลุ่มคน
2.1คณาธิปไตย(oligarchy)
กลุ่มผู้ปกครองในระบบนี้จะปกครองประเทศเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน โดยผู้ปกครองสามารถเป็นบุคคลสามัญได้ ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลิเบีย
ระบบคอมมิวนิสต์ (communism) ระบบการเมืองแบบนี้เป็นการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเพียงพรรคเดียว รัฐบาลจะกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองประเทศจีน ประเทศคิวบา ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม
หัวข้อต่อมากล่าวถึงรื่องของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. Common Law หรือ วิถีประชา หมายถึง ระบบกฎหมาย ซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยศาลอังกฤษยุคต้นๆ จะเป็นผู้ชี้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นมีไว้ว่าอย่างไร หรือกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีเช่นนั้นศาลอังกฤษก็จะเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาเอง หรือเป็นบรรทัดถานทางสังคมที่คนยอมรับนับถือจนเกิดความเคยชิน ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่ และไม่มีกฎหมายข้อบังคับใด ๆ สั่งให้ปฏิบัติ กับทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่คนคาดหวังกันว่าคนอื่นจะทำหรือไม่ทำอะไรในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การพูดคำ "สวัสดี" การยกมือไหว้ การสวมชุดดำในงานศพ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางพฤติกรรม ไม่มีการบังคับควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อมีการละเมิดผู้ละเมิดก็เพียงได้รับคำติฉินนินทา
2.Civil Law หรือจารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หรือศีลธรรมเฉย ๆ เป็นบรรทัดถานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย
3.Theocratic Law หมายถึง ลัทธิการปกครองโดยพระผู้เป็นเจ้า, การเมืองโดยเทพเจ้า, คณะสงฆ์ที่รวบอำนาจการปกครองแผ่นดิน เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นเกณฑ์ในการร่างกฎหมาย เช่น ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
และสุดท้าย เกี่ยวกับกฎหมาย การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับพวก ทรัพย์สินทางปัญญา
Information :http://www.oknation.net/blog/A5214/2009/06/08/entry-2,
http://www.geocities.com/toplegal2005/Intro2.htm,
http://th.wikipedia.org/
Topic- Political enviroment
การปกครองแบบประชาธิไตยอาจแบ่งได้เป็น2ระบบใหญ่ๆคือ
1.ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy)เป็นเพียงวิธีในการทำให้ผลประโยชน์ของคนในสังคมได้รับการตอบสนองจากรัฐ ผ่านตัวแทนที่เขาได้กากบาทเลือกเข้าไป
2.ประชาธิปไตยแบบเปิดกว้าง(Dialogic Democracy) เป็นประชาธิปไตยที่เน้นการเปิดพื้นที่สาธารณะของคนในสังคม ให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง “เพื่อสร้างบทสนทนาสาธารณะ” (Public Discourse) อันนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน เพื่อสร้างที่ว่างให้ความแตกต่างที่หลากหลาย ให้อยู่ร่วมกันได้ โดยทุกกลุ่มสามารถดำรงความเป็นตัวตนของตนเองได้
ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย3ลักษณะ
1.ประชาธิบไตยแบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและ สภานิติบัญญัติมีประธานาธิบดีที่ถูกเลือกตั้งเป็นประมุขของประเทศเพียงแต่ในนาม รัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญัติ)กับคณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร) จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ประเทศที่ปกครองลักษณะนี้ประกอบด้วย 29 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอันดอร์รา อารูบา ประเทศบังกลาเทศ ประเทศบาร์เบโดส ประเทศบัลแกเรีย ประเทศเช็ก ประเทศโดมินิก ประเทศเกรเนดา เกิร์นซีย์ ประเทศฮังการี ประเทศอิรัก ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอิสราเอล เจอร์ซีย์ ประเทศลัตเวีย ประเทศลิธัวเนีย ประเทศมาซีโดเนีย เกาะแมน ประเทศมอริเชียส ประเทศเนปาล ประเทศโปรตุเกส ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ประเทศเซนต์ลูเซีย ประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ประเทศสโลวาเกีย หมู่เกาะโซโลมอน ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ประเทศตุรกี ประเทศซิมบับเว
2.ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ในการปกครองระบบประชาธิไตยแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(ประธานาธิบดี) และฝ่ายตุลาการ(ศาล)แยกอำนาจออกจากกัน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
3.ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารและเป็นประมุขของประเทศ รวมทั้งสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย
ส่วนประเทศไทย เองตามหลักคือใช้การปกครองแบบ ราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ
ระบบนี้เป็นระบบที่นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติ ประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญผู้ทรงใช้พระราชอำนาจตามความเห็นชอบของรัฐบาล ประชาชน หรือตัวแทนของประชาชน ประกอบด้วย20 ประทศ ประเทศอันดอร์รา ประเทศเบลเยียม ประเทศกัมพูชา ประเทศเดนมาร์กประเทศญี่ปุ่น ประเทศคูเวต ประเทศเลโซโท ประเทศลิกเตนสไตน์ ประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศมาเลเซีย ประเทศโมร็อกโก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศซามัว ประเทศสเปน ประเทศสวีเดน ประเทศตองกา ประเทศภูฏาน ประเทศสวาซิแลนด์ และประเทศไทย
หากกล่าวถึงประเทศไทยของเรา ปัจจุบันความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ข้ามพ้นจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน รูปแบบของการแสวงหาสร้างพื้นที่ของอำนาจ เป็นไปในลักษณะของการทำอย่าไรก็ได้ให้ได้จำนวนคะแนนเสียงที่มากที่สุด(Vote Gain Maximization) เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ที่มากที่สุด เพื่อสร้างความเบ็ดเสร็จของอำนาจในการบริหารให้มากที่สุด อุดมการณ์ของพรรคการเมืองจึงเป็นเรื่องเป้าหมายรองลงไป ถ้าเทียบกับเป้าหมายในเรื่องจำนวนที่นั่งของ ส.ส. ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของการกากบาท ซึ่งนานๆทีจะมีซักครั้ง ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่ม เพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ใช้จากฝ่ายทหาร มาสู่กลุ่มทุนในยุคนี้เท่านั้น หาใช่เป็นเป้าหมายในการเปิดกว้างยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายดังเช่นที่ผู้ริเริ่มหวังไว้
70 กว่าปี ของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย ด้วยกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ ไทยได้พัฒนาด้วยกระบวนการโลกภิวัฒน์ แต่การพัฒนาที่เห็นเด่นชัดที่สุดกลับเป็นแค่การข้ามพ้นจากอำนาจของฝ่ายทหารด้วยพลังของปัญญาชน มาสู่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เท่านั้น การเข้าสัมผัสถึงประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างยังคงห่างไกลนัก
2552-06-21
Topic-Importance of globalization (merit and disadvantage)
However the globalization also have disadvantage are the taking advantage of the Great Power coutry such make to limitless rebellion everytime so every should develop coutry self with to the intellect
ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า โลกาภิวัตน์ มีผลก่อให้เกิด เศรษฐกิจฐานความรู้ หรือเศรษฐกิจใหม่และก่อให้เกิดความมั่นคงของชาติ เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสารสนเทศ ความรู้ สินค้า และเงินทุน ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับนโยบายการค้าเพื่อที่ธุระกิจจะได้สามารแข่งขันกัยนานาชาติได้ และทำหให้ประชาชน มีกำลังการต่อรองกับภาครัฐมากขึ้น ซึ่งผลของโลกาภิวัตน์ ทำให้ประชาตชนสามารถแสดงความคนได้มากขึ้น และทำให้ข่าวสารข้อมูลเป็นไปอย่างเสรี
อย่างไรก็ตาม โลกาภิวัตน์ ก็ ยังมีข้อเสียคือ ทำหใชติมหาอำนาจ เอาเปรียบประเทศที่อ่อนแอ ก่อให้เกิดการก่อการร้ายไร้พรมแดน ดังนั้นทุกประเทศควรที่จะพัมนาตนเองทางด้านปัญญา เพื่อเอาชนะทุกอย่างไปได้
Information : http://www.our-teacher.com/our-teacher/Military%20Mentorship/18-Globalization.htm
2552-06-19
Topic-Leader of Globalization
After the word war II and the cold war America tries to be the leader of th world as America will set game of '' New world formatich'' and Globalization for every country to follow them but America must borrow cash from another country so the power not be in hands by one self same before. In the meeting of ASEM at Beijing on 2008 the leader of European and Asain said about the new business world but everything can't start if without America.
However This time not have the other Great power to take ponsibities about donate cash for Tuberculosis, Malaria and HIV to world capital and not have other coutry can pay the expense to the United nations as America paies 25% although China as paies 21% and can't to take responsilities same America .
The world will change the old point to complicated system . America just permissive for other coutry such as China, India, Brazil, Russia as can share the power for participate success so Globalization for this time are particapation every Great power as the America be the majority.
คำแถลงการของ บารัค โอบามา เมื่อวันเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งโอบามา ได้กล่าวไว้ว่า อเมริการจะหวนกลับมาเป็นผู้นำโลกอีกครั้ง ซึ้ง ณ เวลานี้ โลกกำลังประสบกับปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ และหากมองย้อนกลับไป ซักเมื่อ8ปีที่แล้ว เมื่อ บูชยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขามักล่วงล้ำอธิปไตยของอิรัก และ ใช้กำลังข่มเหงประเทศต่างๆอาจกล่าวได้ว่าอเมริกาก็คือตัวการที่ก่อให้เกิดวิกฤติอยู่ขณะนี้นี่เอง
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 และสงครามเย็น อเมริกาเองก็พยายามทำตัวเป็นผู้นำโลก ซึงพยามยามสร้างกฎโดยตัวเองเป็นผู้นำเกม ให้ประเทศต่างๆทำตาม แต่อเมริการกลับต้องยืมเงินจากประเทศอื่นๆดังนั้นอำนาจก็ไม่ได้อยู่ในมืออเมริการอีกต่อไป ในการประชุม ASEM ณ กรุงปักกิ่ง ปี 2008 ซึ่งผู้นำทั้งยุโรปและเอเชียต่างพูดถึงเศรษฐกิจโลกใหม่ แต่จะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาด ผู้นำอย่างอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ไม่มีชาติใดมีความสามารถอย่างอเมริกาที่สามารถรับผิดชอบบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศลมากมาย เกี่ยวกับโรคเอดส์ มาลาเลีย หรือวัณโรค และอเมริกาก็เป็นผู้จ่ายเงินแก่สหประชาชาติราว25% ซึ่งมากที่สุดในโลก หรือแม้แต่จีนที่บางคนมากว่าอาจก้าวสู่ผุ้นำโลกคนใหม่ก็ จ่ายเพียง 21% และไม่มีความสามารอย่าง อเมริการที่จะบริจาคเงินมากมายมหาศาลได้
ดังนั้นโลกของเรา ควรเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบเก่าเป็นระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น อเมริกาเองต้องยอมรับประเทศอื่นมากขึ้นไม่ว่าจะ จีน บราซิล อินเดียหรือ รัซเซีย ซึ่งควรแบ่งปันอำจเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน
ดังนั้น โลกโลกาภิวัฒน์ ณ เวลานี้ คือเวลาของการร่วมือกันดดยแกนนำสำคัญคือสหรัฐอเมริกา
Informations From http://www.the-thainews.com/analized/inter/int290152_11.htm
2552-06-18
Fist time
class แรก กล่าวได้ว่า โลกาภิวัฒน์ คือการเชื่อมต่อ สื่อการกันระหว่างปรระเทศต่างๆทั่งโลก ซึ่งเป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าทางเศรษกิจ บางอย่างสามารถถ่ายทอดวัฒธรรมจากที่หนึงสู่อีกที่ปนึ่งได้อย่างเสรี เป็นการประหยัก เวลา พลังงานต่างๆเปลี่ยนโมหน้าใหม่ของโลกให้หลุดจาก พวกหัวเก่าโบราณ