2553-11-12
Hello New Class IB 324 Cross Cultural Organization Management
ซึ่งจริงBlog ผม ก็ ไม่ได้ ใช้มานานมากๆ เลยน่ะคับ ..... ^ ^'
2552-09-19
Multinational Company
บริษัทข้ามชาติ (Multinational Company) คือ บริษัทที่ขยายธุรกิจด้วยการสร้างบริษัทลูกในต่างประเทศ โดยบริษัทลูกจะมีความรับผิดชอบในเรื่องการปรับตัว การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม การแข่งขัน และความต้องการของลูกค้าในประเทศนั้น ๆ ด้วยตัวเอง หรือ คือธุรกิจที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน สามารถควบคุมการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ที่ดิน สำหรับการผลิตวัตถุดิบ สำนักงาน ที่ทำหน้าที่ขาย โดยมีทรัพย์สินกระจายอยู่ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป
ประกอบด้วย 4 รูปแบบคือ
1.แบ่งตามหน้าที่ คือ แบ่งเป็นแผนกในการบริหาร
2.แบ่งตามสายการผลิต คือ บางบริษัทนั้นมีประเภทผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทำให้ต้องมีสายการผลิตที่แตกต่างกันออกไป
3.แบ่งตามภูมิประเทศ คือ บางประเทศนั้นความต้องการของผู้บริโภคนั้นแตกต่างกัน
4.แบ่งแบบผสมผสาน คือ เอาทั้งหมดมาประยุกต์
บรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศโลกที่หนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาสู่ประเทศโลกที่สามมากขึ้น เหตุผลที่ทำให้บรรษัทข้ามชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศโลกที่สามก็คือ ประการแรก การถูกต่อต้านจากประชาชนและถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจากกฎหมายหรือกลไกภายในประเทศของตน ประการที่สอง การเล็งเห็นผลประโยชน์ในการเข้ามาลงทุนในประเทศโลกที่สาม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตในกระบวนการอุตสาหกรรม รวมถึงอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างในประเทศตน และความล้าหลังของกฎหมาย หรือมาตรการควบคุมการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ โครงสร้างอำนาจข้ามชาติกับบรรษัทข้ามชาติ
โครงสร้างอำนาจสำคัญที่ทำหน้าที่ผลักดันแนวคิด อุดมการณ์ รวมถึงกลไกการจัดการ กำกับให้ทุกประเทศมีทิศทางเศรษฐกิจสังคมในแนวทางเดียวกัน เกิดเป็นโครงสร้างอำนาจข้ามชาติ ได้แก่
1.กลุ่มประเทศ จี 8 (G 8) ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น และจีน เป็นกลุ่มประเทศที่มีโครงสร้างอำนาจและฐานะทางเศรษฐกิจเป็นแกนนำทางเศรษฐกิจของสังคมโลก มีอำนาจกำหนดนโยบายเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงินทุน อุดมการณ์และ
ความคิด
2.องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) องค์กรการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เป็นสถาบันกำกับสมาชิกประเทศให้ดำเนินนโยบายภายใต้ทิศทางทุนนิยมโลก รวมถึงการทำหน้าที่สนับสนุน จัดตั้งหน่วยงานการวางแผน หน่วยงานด่านการดำเนินการและส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการดำเนินนโยบายและบทบาทที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อแนวทางการดำเนินธุรกรรมของบรรษัทข้ามชาติ
3.บรรษัทข้ามชาติ เป็นองค์กรธุรกิจเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไรโดยผ่านการลงทุนข้ามชาติในธุรกรรมการผลิต การค้า การเงิน ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศโลกที่สาม บทบาทสำคัญอีกประการ คือการเผยแพร่แนวคิดทฤษฎีผ่านการสนับสนุนด้านวิชาการ การศึกษาในรูปของมูลนิธิ เช่น มูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิเอเชีย ฯลฯ
Information : http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=topreport&No=1770
Mode of Entry
ตัวกลางในการกระจายสินค้าของเราก็คือ “คนกลาง” หรือ “ช่องทางจำหน่าย”
ในการทำการค้าระหว่างประเทศ อาจแบ่งนโยบายการจัดจำหน่าย (Distribution Policy) หรือวิธีการเจาะเข้าไปในตลาดเป้าหมายได้ 2 วิธี หรือ 2 ช่องทางใหญ่ๆ คือ
วิธีแรก ผลิตในประเทศแล้วส่งออก ซึ่งก็มี 2 วิธีคือ
1.การส่งออกทางอ้อม (Indirect Export) หมายถึงการส่งออกโดยผ่านกลุ่มคนกลางในประเทศ เช่น Trading Company, Buying Agent
2.การส่งออกทางตรง (Direct Export) หมายถึงผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออกโดยตรง โดยส่งออกหรือขายให้กับกลุ่มคนกลางในต่างประเทศ เช่น Importer, Wholesaler, Retailer, Agent Overseas Marketing Subsidiary
วิธีที่สอง ผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศ คือไปทำการผลิตและจำหน่ายในประเทศเป้าหมาย ซึ่งสามารถเลือกวิธีการผลิตได้ 6วิธี
1. Exporting
2.Turnkey project
3.Licensing
4.Franchising
5.Joint Ventures
6.Wolly owned Subsidianes
Information : http://www.ksmecare.com/News_Popup.aspx?ID=4498
International strategic Analysis
-องค์ประกอบภายในคือดูจาก value chain คือการวิเคราะห์จากองค์ประกอบภาพรวมทั้งองค์กร
- ปัจจัยพื้นฐานหลัก-การขนส่งปัจจัยการผลิต
-กระบวนการผลิต
-การขนส่งสินค้าสู่ผู้บริโภค
-การตลาด
-การบริหารจัดการ
- ปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน-ปัจจัยด้านสาธารณูปโภค
-การบริหารทรัพยาการมนุษย์
-เทคโนโลยี
-การจัดการ
การกำหนดกลยุทธ์ระดับนานานชาติ
กลยุทธ์ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งวิเคราะห์จากการแบ่งอำนาจการบริหาร แลโครงสร้างขององค์กร
1.กลยุทธ์ระหว่างประเทศ-เป็นการรวมอำนาจศุ่ส่วนกลางต้องการความเป้ฯเอกภาพ
2.กลยุทธ์การปรับหาท้องถิ่น-เป็นการกระจายอำนาจ สู่ความต้องการผู้บริโถฃภคดดยตรง
3.กลยุทธ์ที่มุ่งสร้างความเป็นสากล-เน้นสร้างมาตรฐานหรือความเป็นเอกภาพแก่ตัวสินค้า
4.กลยุทธ์ข้ามชาติ-เป็นการผสมผสานทุกๆวิธีการ
สุดท้ายคือการประเมิน ควบคุม และปรับกลยุทธ์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ขององค์กรทั้งภายนอกภายใน ซึ่งอาจมีปะญหา โดยวิเคราะห์จากงบการเงิน หรือในระดับมหัพภาค และจุลภาค
Information : http://school.obec.go.th/keansapitayakom/business/co_nation.htm
Five Force model
แนวทางการวิเคราะห์ของ Michael E. Porter มีดังนี้
1. อุปสรรคกีดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรม(Rivalry Among Current Competitors) จะได้แก่
- การประหยัดจากขนาด (Economies of scale) เนื่องจากผลิตสินค้าที่เป็นมาตรฐานจำนวนมาก ซึ่งทำให้
ต้นทุนของสินค้าลดต่ำลง เพราะสามารถลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง
- การผูกพันในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty)
- เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่
- การเข้าถึงช่องจัดจำหน่าย (Access to distribution)
- นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน
- ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้า (Switching cost) ถ้าลูกค้าต้องมีต้นทุน หรือค้าใช้
จ่ายในส่วนนี้สูง ต้นทุนเหล่านี้ซึ่งอาจได้แก่ ต้นทุนของอุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องปรับเปลี่ยนเพิ่ม หรือ
อาจจะเป็นระบบงานที่ต้องจัดรูปแบบใหม่ ค่าฝึกอบรมแลสอนงานให้กับพนักงานเพื่อให้ทำงานตามระบบ
ใหม่เป็นต้น
- ข้อได้เปรียบต้นทุนในด้านอื่นๆ เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเฉพาะ มีวัตถุดิบราคาถูก มีทำเลที่ตั้งดีกว่า มี
แหล่งเงินทุนที่ต้นทุนถูก และทำมานนานจนเกิดการเรียนรู้
2. แรงผลักดันจากผู้ผลิตหรือคู่แข่งที่มีในอุตสาหกรรม (Threat of New Entrance)
- จำนวนคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งขันมีจำวนมาก หรือ มีขีดความสามารถพอๆกัน จะทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรง
- อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโต การแข่งขันจะไม่รุนแรงมากนัก
- ความแตกต่างของสินค้า ถ้าสินค้ามีความแตกต่างกันไป การแข่งขันก็จะน้อยลง
- ความผูกพันในตรายี่ห้อ
- กำลังการผลิตส่วนเกิน ถ้าอุตสาหกรรมมีกำลังผลิตส่วนเกิน การแข่งขันจะรุนแรง
- ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ และต้นทุนในการเก็บรักษา
- อุปสรรคกีดขวางการออกจากอุตสาหกรรม เช่น ข้อตกลงกับสหภาพแรงงานในการจ่ายชดเชยที่สูงมาก
3. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (ซัพพลายเออร์)(Bargaining Power of Suppliers)
- จำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของผู้ขายจะสูง
- ระดับการรวมตัวกันของผู้ขายวัตถุดิบ ถ้าผู้ขายรวมตัวกันได้ อำนาจการต่อรองก็จะสูง
- จำวนวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่มี ถ้าวัตถุดิบมีน้อย อำนาจต่อรองจะสูง
- ความแตกต่างและเหมือนกันของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างกันมาก อำนาจต่อรองผู้ขายจะสูง
4. อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Customers )
- ปริมาณการซื้อ ถ้าซื้อมาก ก็มีอำนาจการต่อรองสูง
- ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าได้รับเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขาย ถ้าลูกค้ามีข้อมูลมาก ก็ต่อรองได้มาก
- ความจงรักภักดีต่อยี่ห้อ
- ความยากง่ายในการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ซื้อ ถ้าลูกค้ารวมตัวกันง่ายก็มีอำนาจต่อรองสูง
- ความสามารถของผู้ซื้อที่จะมีการรวมกิจการไปดานหลัง คือ ถ้าลูกค้าสามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตนเอง
อำนาจการต่อรองก็จะสูง
- ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคนอื่น หรือ ใช้สินค้าของคู่แข่งแล้วลูกค้าต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยน
สูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ
5. แรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้ (Threat of Substitute Products or Services)
- ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน เช่น เครื่องปรับอากาศกับพัดลม
- ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน
- ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแทน
Five Forces Model เป็น what to แต่องค์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันได้ครบถ้วนนั้นคือ How to build Competitive Advantage เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการประสบความสำเร็จในธุรกิจ กลยุทธ์ทั่วไปหรือ Generic Strategy มีอยู่สามชนิดตามแนวคิดของ พอร์ตเตอร์ คือ
- 1. Differentiation คือ การสร้างความแตกต่างให้สินค้าหรือบริการ โดนเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มคุณค่าสินค้า (Value Added) จะทำให้สินค้าหรือบริการสามารถขายในราคาที่สูงได้
- 2. Cost Leadership คือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยผู้ใดมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
- 3. Focus ผู้ให้บริการมุ่งเจาะสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ทำ Consumer Segmentation แล้วเลือกเจาะกลุ่มผู้บริโภค เช่น ทำตลาดกลุ่ม ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่าง Life Style เป็นต้น
- Information: http://www.vcharkarn.com/vblog/41769 ,http://www.geocities.com/dol_nida/
2552-08-23
International Strategic
กลยุทธ์ เป็นการ วางแผนเกี่ยวกับเป้าหมายระยะยาว เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์(เป้าหมาย)และภารกิจ(หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติบัติ)
วิเคราะห์ SWOT (สภาพแวดล้อม)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก : การพิจารณาโอกาสและอุปสรรค อันได้แก่ เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม, เทคโนโลยี, ด้านกายภาพ, การเมืองและกฎหมาย, ด้านต่างประเทศ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน : การพิจาณาจุดอ่อนและจุดแข็ง ซึ่งใช่การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value -Chain) หรือก็คือ การให้ความ สำคัญกับทุกขั้นตอนของกระบวนการภายในธุรกิจ
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ มี 5 ขั้นตอนที่สำคัญคือ
1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
3.การกำหนดภารกิจขององค์กร
4.การกำหนดกลยุทธ์
5.การกำหนดแผนปฏิบัติการ
การวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย
1. ระดับบริษัท เป็นกลยุทธ์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมธุรกิจในเครือ
2. ระดับธุรกิจ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจแต่ละชนิด ซึ่งเป็นการกำหนดนโยบายในการแข่งขันให้เหมาะสมกับชนิดของธุรกิจ
3. ระดับหน้าที่ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานแต่ละหน้าที่ภายในธุรกิจ
การวิเคราะห์กลยุทธ์ วิเคราะห์จากสถานการณ์ภายนอก(PESTและFive Forces Model)และภายใน (value chain)
ซึ่งผมจะอธิบาย Five Force Model ในหัวข้อถัดไปน่ะครับ
2552-08-22
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
1.ลัทธิการค้านิยม-Mercantilism
2.ทฤษฏีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์-Absolute Advantage
3.ทฤษฏีการได้เปรียบเปรียบเทียบ-Comparative Advantage
4.ทฤษฏีของเฮกเชอร์ ออแลง-Heckscher Ohlin Theory
5.ทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์-The Producy Life Cycle Theory
6.ทฤษฏีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ-National Competitive Advantage
- 1) ทฤษฎีลัทธิพาณิชย์นิยม เกิดขึ้นในราวปี ค.ศ.1500-1800 ซึ่งเป็นช่วงที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวและได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆ ทฤษฎีนี้ยึดหลักที่ว่าความมั่งคั่งของประเทศจะขึ้นกับการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะทองคำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประเทศยุโรปส่วนใหญ่มุ่งขยายอาณานิคม (colonial possessions) จะมุ่งเน้นการส่งสินค้าออกมากกว่านำสินค้าเข้าประเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือประเทศคู่ค้า มีการดำเนินนโยบายการผูกขาดทางการค้าโดยการตั้งกำแพงภาษี การห้ามนำเข้า การจำกัดการนำเข้า การจำกัดโควต้า ตลอดจนการเอารัดเอาเปรียบอาณานิคมในการแสวงหาวัตถุดิบ ปัจจุบันยังคงมีบางประเทศที่ยังคงดำเนินแนวความคิดนี้อยู่เช่นประเทศ ไต้หวัน ซึ่ง เรียกว่าเป็นพวกลัทธินิยมสมัยใหม่ (new mercantilism) ซึ่งเป็นทฤษฎีการค้าที่มุ่งให้เกิดดุลการค้าที่น่าพอใจ (favorable balances of trade) เน้นให้มีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าซึ่งเป็นการค้าเกินดุล ขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายทางการเมืองและสังคม มีการจ้างงานเต็มที่ (full employment) โดยมุ่งการผลิตสินค้าให้มากกว่าอุปสงค์ที่มีอยู่ในประเทศ แล้วส่งสินค้าส่วนเกินไปขายในตลาดต่าง ประเทศ หรือความพยายามให้ประเทศสร้างอิทธิพลในท้องถิ่น ทฤษฎีพาณิชย์นิยมสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่แก้ไขต่อเนื่องมาจากทฤษฎีลัทธิพาณิชย์นิยม โดยเน้นความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การ เมือง และสังคม
- 2) ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ โดย อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดในเรื่องการแบ่งงานกันทำ (division of labor) ตามความถนัด ทำให้เกิดความชำนาญ (specialization) ในการผลิตสินค้านั้นที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด ความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ คือความได้เปรียบในการผลิตที่ประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าได้เท่ากับที่ประเทศอื่นผลิตได้โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า หรือในกรณีที่ใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากัน แต่ประเทศที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง ทฤษฎีนี้เชื่อว่าประเทศหนึ่งจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มีประสิทธิภาพมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่าแล้วส่งสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนต้องการ อดัม สมิธ จะเน้นให้ใช้นโยบายการค้าเสรี (free trade policy) โดยไม่มีการควบคุมแทรกแซงใด ๆ จากรัฐ เพื่อส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกแรงงานอย่างเต็มที่ให้ทุกประเทศได้เลือกผลิตสินค้าแต่เฉพาะที่สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน หากการค้าของโลกไม่มีข้อจำกัดแต่ละประเทศจะมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน โดยแต่ละประเทศจะมุ่งผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage)
- 3)ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศเชิงเปรียบเทียบ โดยเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ควรมุ่งผลิตสินค้าที่ตนสามารถผลิตได้โดยเสียต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบ การกระทำเช่นนี้ ทำให้ทุกประเทศได้รับผลประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) หรือก็คือการที่ ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากัน ประเทศที่ผลิตสินค้าโดยเสียต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด จะผลิตสินค้านั้นเพื่อการส่งออก
ข้อจำกัด
1.ทฤษฎีนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมมติฐานที่ว่ามีเพียง 2 ประเทศ และสินค้าเพียง 2 ชนิดเท่านั้นในโลกนี้ แต่ในความเป็นจริงกลับมีประเทศมากมายและสินค้าหลากหลายในโลก
2.จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมมติฐานที่ว่าไม่มีต้นทุนการขนส่งระหว่างสองประเทศ
3.ราคาที่แตกต่างกันจึงไม่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนด้วยอัตราส่วน1 ต่อ 1
4.ตั้งบนสมมติฐานที่ว่าทรัพยากรไม่สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้อย่างเสรี
5.ตั้งบนสมมติฐานจำนวนหรือปริมาณทรัพยากรที่ใช้ผลิตสินค้าต้องคงที่เสมอ
6. ตั้งบนด้วยสมมติฐานที่ว่า รายได้ประชากรของทั้งสองประเทศไม่มีผลต่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- 4)ทฤษฏีของเฮกเชอร์ ออแลง เน้นในเรื่องความแตกต่างกันของปัจจัยการผลิตเริ่มต้น (Factor Endownments) ที่แต่ละประเทศมีอยู่ และราคาปัจจัยการผลิต (Factor Prices) ระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการค้า (โดยมีสมมติฐานว่าเทคโนโลยีและรสนิยมเหมือนกัน) ตามทฤษฏีนี้ แต่ละประเทศจะส่งออกสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่มีมากโดยเปรียบเทียบซึ่งทำให้ปัจจัยการผลิตนั้นมีราคาถูก และนำเข้าสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่หายากโดยเปรียบเทียบซึ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะมีราคาแพง
- 5.ทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
สาเหตุมาจากผู้บริโภคมีความต้องการและรสนิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาสินค้าอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขั้นตอนของวงจรผลิตภัณฑ์ดังนี้
ระยะ 1 ระยะของสินค้าใหม่ ผลิตในบริษัทแม่ และขายในประเทศแม่ สินค้าส่วนที่เหลือส่งไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิต
ระยะ 2 ระยะของการเจริญเติบโตของสินค้า สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เพราะชื่อเสียงและคุณภาพของสินค้าของบริษัทแม่
ระยะ 3 ระยะที่สินค้ามีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ธุรกิจจะเริ่มลงทุนการผลิตในต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการสินค้าของผู้บริโภค
ระยะ 4 ระยะที่เคยส่งสินค้าออกอาจจะกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าว เนื่องจากการสูญเสียการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
จุดมุ่งหมายของธุรกิจคือการสร้างกำไรสูงสุดให้กับกิจการ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มยอดขายให้กับกิจการ ดังนั้นเมื่อธุรกิจใด ๆ พบว่าตลาดภายในประเทศของตนเองถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งไม่สามารถขยายตลาดได้อีกต่อไป อาจเนื่องมาจากการแข่งขันภายในประเทศหรือระยะอิ่มตัวของผลิตภัณฑ์ บริษัทนั้น ๆ ต้องพยายามแสวงหาตลาดใหม่ในประเทศอื่น ๆ
- 6.ทฤษฏีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดย ไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ (Michael E. Porter)
เน้นแนวคิดที่ว่า "ประเทศใดจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ภายในประเทศจะต้องมีความได้เปรียบจากการแข่งขันก่อน" แต่ละประเทศจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะต้องพิจารณาจากปัจจัย 4 ปัจจัย
คือ1. สถานะด้านปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และทุน รวมถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ส่งผลต่อการผลิตสินค้า ซึ่งปัจจัยตัวแรกนี้เป็นผลกระทบในด้านของทุน เราจะต้องพิจารณาตัวเราก่อนว่าปัจจัยการผลิตของเรามีความได้เปรียบอย่างไรบ้าง
2. สถานะด้านอุปสงค์ เมื่อผลิตและจำหน่ายภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของเราสามารถครอง Market Share ได้ที่ 1 อุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศสูง ก็เป็นความได้เปรียบของธุรกิจและมีโอกาสในการออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน ธุรกิจจะต้องพิจารณาว่า supplier (ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ)นั้น หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เช่น บริษัทขนส่ง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่ เราอาจไม่จำเป็นต้องมี supplier อยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้น แต่สามารถแสวงหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูกจากต่างประเทศก็ได้เช่นกัน
4. กลยุทธ โครงสร้างการแข่งขันของบริษัท กลยุทธ์และโครงสร้างที่ดีจะต้องสามารถปรับให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันของธุรกิจได้ มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา