2552-07-02

Topic- Political enviroment-...Totalitarianism

ต่อจากข้อความที่แล้วน่ะครับ

ระบบการเมืองแบบเผด็จการ คือ ระบบการเมืองการปกครองที่คณะผู้ปกครองใช้อำนาจเหนือประชาชนโดยไม่ยอมรับเสรีภาพหรือความเสมอภาคของประชาชน ระบบเผด็จการมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

1.ระบบการปกครองเผด็จการที่ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดเพียงคนเดียว
1.1สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) ในระบบนี้ พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสมบูรณ์และทรงสืบทอดอำนาจผ่านทางราชวงศ์ ได้แก่6ประเทศ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศบาห์เรน ประเทศบรูไน

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ประเทศไทย เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ

2.ระบบการปกครองเผด็จการโดยกลุ่มคน
2.1คณาธิปไตย(oligarchy)
กลุ่มผู้ปกครองในระบบนี้จะปกครองประเทศเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน โดยผู้ปกครองสามารถเป็นบุคคลสามัญได้ ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลิเบีย

ระบบคอมมิวนิสต์ (communism) ระบบการเมืองแบบนี้เป็นการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเพียงพรรคเดียว รัฐบาลจะกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองประเทศจีน ประเทศคิวบา ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม

หัวข้อต่อมากล่าวถึงรื่องของกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" สามารถแบ่งออกได้เป็น

1. Common Law หรือ วิถีประชา หมายถึง ระบบกฎหมาย ซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยศาลอังกฤษยุคต้นๆ จะเป็นผู้ชี้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นมีไว้ว่าอย่างไร หรือกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีเช่นนั้นศาลอังกฤษก็จะเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาเอง หรือเป็นบรรทัดถานทางสังคมที่คนยอมรับนับถือจนเกิดความเคยชิน ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่ และไม่มีกฎหมายข้อบังคับใด ๆ สั่งให้ปฏิบัติ กับทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่คนคาดหวังกันว่าคนอื่นจะทำหรือไม่ทำอะไรในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การพูดคำ "สวัสดี" การยกมือไหว้ การสวมชุดดำในงานศพ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางพฤติกรรม ไม่มีการบังคับควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อมีการละเมิดผู้ละเมิดก็เพียงได้รับคำติฉินนินทา

2.Civil Law หรือจารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หรือศีลธรรมเฉย ๆ เป็นบรรทัดถานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย

3.Theocratic Law หมายถึง ลัทธิการปกครองโดยพระผู้เป็นเจ้า, การเมืองโดยเทพเจ้า, คณะสงฆ์ที่รวบอำนาจการปกครองแผ่นดิน เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นเกณฑ์ในการร่างกฎหมาย เช่น ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม

และสุดท้าย เกี่ยวกับกฎหมาย การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับพวก ทรัพย์สินทางปัญญา
Information :http://www.oknation.net/blog/A5214/2009/06/08/entry-2,
http://www.geocities.com/toplegal2005/Intro2.htm,
http://th.wikipedia.org/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น