2552-07-02

Topic- Political enviroment

จากสัปดาห์นี้ที่เรียนสรุปได้ว่า ...การเมืองการปกครองโดยทั่วไปประกอบด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย(democracy) และระบบการปกครองแบบเผด็จการ(totalitarianism ) ขอกล่าวถึงการปกครองแบบประชาธิปไตยก่อน ซึ่ง ประเทศต่างๆ ในโลกกำลังพัฒนาเพื่อปรับตัวให้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ที่แผ่ไปในทุกภูมิภาค การหยุดพัฒนาและปิดกั้นตนเองเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป กระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศต่างๆ ที่สำคัญคือ กระแสการเป็นประชาธิปไตย ที่ทำให้มีการปฏิรูประบบการเมืองการปกครองในนานาประเทศ ทั้งนี้ มีการพัฒนากระบวนการมุ่งสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มากขึ้นโดยที่

การปกครองแบบประชาธิไตยอาจแบ่งได้เป็น2ระบบใหญ่ๆคือ
1.ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy)เป็นเพียงวิธีในการทำให้ผลประโยชน์ของคนในสังคมได้รับการตอบสนองจากรัฐ ผ่านตัวแทนที่เขาได้กากบาทเลือกเข้าไป

2.ประชาธิปไตยแบบเปิดกว้าง(Dialogic Democracy) เป็นประชาธิปไตยที่เน้นการเปิดพื้นที่สาธารณะของคนในสังคม ให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง “เพื่อสร้างบทสนทนาสาธารณะ” (Public Discourse) อันนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน เพื่อสร้างที่ว่างให้ความแตกต่างที่หลากหลาย ให้อยู่ร่วมกันได้ โดยทุกกลุ่มสามารถดำรงความเป็นตัวตนของตนเองได้

ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย3ลักษณะ
1.ประชาธิบไตยแบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและ สภานิติบัญญัติมีประธานาธิบดีที่ถูกเลือกตั้งเป็นประมุขของประเทศเพียงแต่ในนาม รัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญัติ)กับคณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร) จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ประเทศที่ปกครองลักษณะนี้ประกอบด้วย 29 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอันดอร์รา อารูบา ประเทศบังกลาเทศ ประเทศบาร์เบโดส ประเทศบัลแกเรีย ประเทศเช็ก ประเทศโดมินิก ประเทศเกรเนดา เกิร์นซีย์ ประเทศฮังการี ประเทศอิรัก ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอิสราเอล เจอร์ซีย์ ประเทศลัตเวีย ประเทศลิธัวเนีย ประเทศมาซีโดเนีย เกาะแมน ประเทศมอริเชียส ประเทศเนปาล ประเทศโปรตุเกส ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ประเทศเซนต์ลูเซีย ประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ประเทศสโลวาเกีย หมู่เกาะโซโลมอน ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ประเทศตุรกี ประเทศซิมบับเว

2.ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ในการปกครองระบบประชาธิไตยแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(ประธานาธิบดี) และฝ่ายตุลาการ(ศาล)แยกอำนาจออกจากกัน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

3.ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารและเป็นประมุขของประเทศ รวมทั้งสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย

ส่วนประเทศไทย เองตามหลักคือใช้การปกครองแบบ ราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ
ระบบนี้เป็นระบบที่นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติ ประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญผู้ทรงใช้พระราชอำนาจตามความเห็นชอบของรัฐบาล ประชาชน หรือตัวแทนของประชาชน ประกอบด้วย20 ประทศ ประเทศอันดอร์รา ประเทศเบลเยียม ประเทศกัมพูชา ประเทศเดนมาร์กประเทศญี่ปุ่น ประเทศคูเวต ประเทศเลโซโท ประเทศลิกเตนสไตน์ ประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศมาเลเซีย ประเทศโมร็อกโก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศซามัว ประเทศสเปน ประเทศสวีเดน ประเทศตองกา ประเทศภูฏาน ประเทศสวาซิแลนด์ และประเทศไทย

หากกล่าวถึงประเทศไทยของเรา ปัจจุบันความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ข้ามพ้นจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน รูปแบบของการแสวงหาสร้างพื้นที่ของอำนาจ เป็นไปในลักษณะของการทำอย่าไรก็ได้ให้ได้จำนวนคะแนนเสียงที่มากที่สุด(Vote Gain Maximization) เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ที่มากที่สุด เพื่อสร้างความเบ็ดเสร็จของอำนาจในการบริหารให้มากที่สุด อุดมการณ์ของพรรคการเมืองจึงเป็นเรื่องเป้าหมายรองลงไป ถ้าเทียบกับเป้าหมายในเรื่องจำนวนที่นั่งของ ส.ส. ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของการกากบาท ซึ่งนานๆทีจะมีซักครั้ง ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่ม เพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ใช้จากฝ่ายทหาร มาสู่กลุ่มทุนในยุคนี้เท่านั้น หาใช่เป็นเป้าหมายในการเปิดกว้างยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายดังเช่นที่ผู้ริเริ่มหวังไว้

70 กว่าปี ของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย ด้วยกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ ไทยได้พัฒนาด้วยกระบวนการโลกภิวัฒน์ แต่การพัฒนาที่เห็นเด่นชัดที่สุดกลับเป็นแค่การข้ามพ้นจากอำนาจของฝ่ายทหารด้วยพลังของปัญญาชน มาสู่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เท่านั้น การเข้าสัมผัสถึงประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างยังคงห่างไกลนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น