2552-07-08

Culture

ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงความหมายของ วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
รู้สึก อ.จะพูดถุงการแบ่ง วัฒนธรรมตามพื้นที่ประเทศหรือโดยภูมิภาค กล่าวถึงประเทศแถบเอเชีย แม้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศเอเซียจะสูงมากก็ตาม แต่ก็ยังมีอิทธิพลของการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมให้เห็นไม่น้อย แม้เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามไม่ใช้ภาษาจีนในการพูด แต่ภาษาของประเทศเหล่านี้ก็มีอิทธิพลของจีนทั้งการพูดและการเขียน ดังนั้น ในเอเซียตะวันออก อักษรจีนจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวกลางของอิทธิพล ด้านศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า มีผลกระทบสูงต่อวัฒนธรรมประเพณีของประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออก รวมทั้งการมีลัทธิขงจื๊อผสมปนอยู่ในปรัชญาทางสังคมและศีลธรรมของประเทศเหล่านี้
ศาสนาฮินดูและ อิสลามส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อประชากรในเอเซียใต้มานานนับหลายร้อยปี เช่นเดียวกันที่ศาสนาพุทธแพร่กระจายเป็นอย่างมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แ ประเทศที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมมากที่สุด คือประเทศ สิงคโปร์ เพราะมีความเป็นอยู่คล้ายชาวตะวันตกมากกว่า

รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เกิดจาก2ปัจจัย คือ
-Choice ตัวเราเองคือคนตัดสิน
-Imposition ถูกสิ่งเร้าอื่นควบคุม
ซึ่งคนเราสามารถรับรู้หรือเราเอาวัฒนธรรมได้ตั้งแต่อายุ 10ขวบ คือ เริ่มรับรู้ซึมซับสิ่งต่างๆรอบตัว
ต่อมาคือ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรม มากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม

การรับวัฒนธรรมอื่น (Acculturation) หมายถึงการเปลี่ยนแทนลักษณะรากฐานจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง เช่นที่เกิดกับชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกาบางเผ่า รวมทั้งกลุ่มชนพื้นเมืองจำนวนมากทั่วโลกในระหว่างกระบวนการการครอบครองอาณานิคม กระบวนการอื่นที่สัมพันธ์ในระดับปัจเจกบุคคลรวมถึงการผสมกลมกลืน (การยอมรับเอาวัฒนธรรมอื่นมาเป็นของตนในระดับบุคคล) และการผ่านข้ามทางวัฒนธรรม(transculturation)


จากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ที่แพร่กระจายไปทั่วทั้งโลก ก่อให้เกิดยุคที่การสื่อสารสามารถทำได้ง่ายดายและไร้พรมแดน เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ในสมัยก่อนนั้น โลกของเราแข่งขันกันด้วยสงครามทางอาวุธ จากนั้นพัฒนาเป็นการแข่งขันด้วยสงครามเศรษฐกิจ จนถึงปัจจุบันเราได้แข่งขันกันครอบงำประเทศอื่นๆด้วยสงครามทางวัฒนธรรม หรือกระบวนการที่เรียกว่า “Creolization” มีความหมายว่า การพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมของตนให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศได้ใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนในประเทศเหล่านี้ชอบที่จะเปิดรับความศิวิไลซ์ ทำให้ถูกครอบงำได้โดยง่ายผ่านการเสพสินค้าและบริการ ประเทศที่เป็นผู้นำด้านนโยบายการส่งออกทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และรายล่าสุด เกาหลี ซึ่งถือว่าเป็นน้องใหม่ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนี้ ในยุคที่แบรนด์จากซีกโลกตะวันตกเริ่มอ่อนล้า เพราะถูกถาโถมด้วยพลังที่แรงกล้าของกระแสแห่งลมตะวันออก
คอลัมนิสต์ท่านหนึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า “การชนะด้วยสงครามทางเศรษฐกิจอาจจะทำได้ไม่สำเร็จ ถ้าไม่สามารถทำให้คลั่งไคล้และหลงใหลในวัฒนธรรมของชาตินั้น” เห็นจะเป็นจริงตามที่ท่านได้กล่าวไว้ หากจะเปรียบเทียบคำกล่าวนี้กับนิยามทางการตลาด การทำให้คนคลั่งไคล้และหลงใหลก็เสมือนกับการสร้าง Brand Value ให้กับวัฒนธรรมเหล่านั้น เมื่อผู้บริโภคมองเห็นคุณค่าในตัวแบรนด์ ผู้บริโภคก็ย่อมยินดีที่จะบริโภคสิ่งเหล่านั้น ด้วยความรัก ความหลงใหลได้ปลื้ม ซึ่งนำไปสู่ความภักดีในตัวแบรนด์ในที่สุด
Creolization: การกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรมของชาติผู้รุกราน
กล่าวถึงผู้นำของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัฒนธรรมควบคุมชาติอื่นคือ อเมริกา เพราะอเมริกาเริ่มคิดว่าการชนะด้วยสงครามเศรษฐกิจคงจะทำไม่ได้ง่ายนัก หากแต่ใช้ “สงครามวัฒนธรรม” (Cultural War) ก็จะสามารถชนะได้ในทุกภูมิภาคของโลกโดยการส่งสินค้าอเมริกันตามเข้าไปเมื่อกลืนวัฒนธรรมของชาตินั้นได้แล้ว เช่น การเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของคนให้ดื่มกาแฟตอนเช้า กินขนมปังไส้หมูหรือฮอทดอก เวลากระหายน้ำก็ดื่มน้ำอัดลมที่มีอยู่เพียง 2 ยี่ห้อที่จะทำให้เป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนทันสมัย เสื้อผ้า กระเป๋า รถยนต์ สารพัดที่เป็นสไตล์อเมริกัน ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยการตลาดย้อนยุค (Retro Marketing) ที่เราเห็นๆ กันอยู่
ประเทศที่2 คือประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อ ซัก10กว่าปีที่ผ่านมาปฏิเสธ ไม่ได้ถึงความแรงของญี่ปุ่นทั้งเพลง แฟชั่น ละคร วัยรุ่นบ้านเรารับวัฒนธรรมต่างๆมากมายทั้งอาหารการกินต่างๆมากมาย ซึ่งพอถึงยุคปัจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นช่าวอิ่มตัวของกระแสญี่ปุ่น ในclass อ.กล่าวถึงแฟชั่น big eye จริงๆเป็นกระแสของญี่ปุ่น ที่เกาหลีรับไป เพราะ big eye ของ จีโอ ที่เป็น ญี่ห้อขายดีต้อง made in japan เพราะ made in korea จะถูกกว่าครึ่งต่อครึ่ง อันนี้ เจ้าของเค้าสอนวิธีสังเกต*-*หากอยากได้ของจริงๆ
ประเทศต่อมาคือ เกาหลี วัฒนธรรมเกหลีแทรกซึกสู่บ้านเรามากมายหลายสิ่ง จนเกิดเป็น “เกาหลีฟีเวอร์” เกาหลีสร้างกระแสโดยใช้กลยุทธ์สื่อสารวัฒนธรรมของตัวเองผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงหลายแขนง อันได้แก่ ละคร เพลง ภาพยนตร์ เกมออนไลน์ วรรณกรรม การ์ตูน แอนิเมชั่น ฯลฯ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศโดยรวม โดยหวังให้สิ่งเหล่านี้สามารถต่อยอดส่งผลพลอยได้ไปยังธุรกิจอื่นๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาหารเกาหลี แฟชั่นการแต่งตัว เครื่องสำอางค์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ความสำเร็จของเกาหลีในวันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ หากแต่หลากหลายกลยุทธ์ได้ถูกวางแผนมาอย่างดีเพื่อหลอมรวมสร้างคุณค่าให้กับ “การส่งออกทางวัฒนธรรมของเกาหลี

Information :http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005aug19p11.htm
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=19342
http://www.oknation.net/blog/DNT/2007/03/30/entry-19
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=16081

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น